|
|
คำพังเพย
กงเกวียนกำเกวียน
หมายความว่า เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่น ทำแกเขาอย่างไร
ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้าง เป็นกงกำกงเกวียน
กรวดน้ำคว่ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน
หมายถึง ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
กระดังงาลนไฟ
หมายถึง หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจ
หมายถึง ผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน
กระดี่ได้น้ำ
ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจจนตัวสั่น เช่น เขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ
กระต่ายขาเดียว, กระต่ายสามขา
หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับ
กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
กระต่ายหมายจันทร์
หมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
กำขี้ดีกว่ากำตด
หมายถึง ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
กินน้ำไต้ศอก
หมายถึง จำต้องยอมเป็นรองเขา, ไม่เทียมหน้าเทียมตาเท่า, (มักหมายถึงเมียน้อยที่ต้องยอมลงให้แก่เมียหลวง)
กาคาบพริก
หมายถึง ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าแดง
กินบนเรือน ขี้บนหลังคา
หมายถึง คนเนรคุณ
กินปูนร้อนท้อง
หมายถึง ทำอาการมีพิรุธเอง, แสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง
เกลือเป็นหนอน, ไส้เป็นหนอน
หมายถึง ญาติมิตร สามาภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้านคิดคดทรยศ
ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
หมายถึง ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
ขนทรายเข้าวัด
หมายถึง หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
ขมิ้นกับปูน
หมายถึง ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน, ไม่ถูกกัน
ข่มเขาโคขืน
หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์ให้กินหญ้าเรา
หมายถึง เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
ขว้างงูไม่พ้นคอ
หมายถึง ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัว
ขวานผ่าซาก
หมายถึง โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
ขิงก็รา ข่าก็แรง
หมายถึง ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน
ขี้แพ้ชวนตี
หมายถึง แพ้ตามกติกาแล้วยังไม่ยอมรับว่าแพ้จะเอาชนะด้วยกำลัง, แพ้แล้วพาล'
ขุนไม่ขึ้น, ขุนไม่เชื่อง
หมายถึง เลี้ยงไม่เชื่องมีแต่เนรคุณ
เขียนเสือให้วัวกลัว
หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
ไข่ในหิน
หมายถึง ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมอย่างยิ่ง
คงเส้นคงวา
หมายถึง เสมอต้นเสมอปลาย
คดในข้องอ ในกระดูก
หมายถึง มีสันดานคดโกง
คว่ำบาตร
หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น
คางคกขึ้นวอ
หมายถึง คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยาอวดดีลืมตัว
จระเข้ขวางคลอง
หมายถึง ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวก เหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปผ่านมาไม่สะดวก
จับปลาสองมือ
หมายถึง หมายจะเอาให้ได้ทั้ง 2 อย่าง, เสี่ยงทำการพร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง 2 อย่าง
จับปูใส่กระด้ง
หมายถึง ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้
จับแพะชนแกะ
หมายถึง ทำอย่างขอไปที ไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทนเพื่อให้ลุล่วงก็ไป
ชักน้ำเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน
หมายถึง นำศัตรูเข้าบ้าน
ชักใบให้เรือเสีย
หมายถึง พูดหรือทำขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออกนอกเรื่องไป
เด็กอมมือ
หมายถึง ผู้ไม่รู้ประสีประสา
ดินพอกหางหมู
หมายถึง ที่คั่งค้างค้างพูนขึ้นเรื่อย ๆ
เด็กเมื่อวานซืน
หมายถึง คำกล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้หรือประสบการณ์น้อย
เด็ดบัวไม่ไว้ใย
หมายถึง ตัดขาด, ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด, มักใช้คู่กับ เด็ดดอกไม่ไว้ขั้ว เด็ดบัวไม่ไว้ใย
ตบตา
หมายถึง หลอกหรือลวงให้ให้เข้าใจผิด
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง
หมายถึง ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล
ตบหัวลูบหลัง
หมายถึง ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้วกลับทำ หรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง
ตัดหางปล่อยวัด
หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป
ตาลีตาเหลือก
หมายถึง อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว
ถวายหัว
หมายถึง ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน, ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตาย
ถ่านไฟเก่า
หมายถึง ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไปเมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น
ถอนหงอก
หมายถึง ไม่นับถือเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่
ถอดเขี้ยวถอดเล็บ
หมายถึง ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไป
ถอยหลังเข้าคลอง
หมายถึง หวนกลับไปหาแบบเดิม
ทองแผ่นเดียวกัน
หมายถึง เกี่ยวดองกันโดยการแต่งงาน
ทองไม่รู้ร้อน
หมายถึง เฉยเมย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่สะดุ้งสะเทือน
ท่าดีทีเหลว
หมายถึง มีท่าทางดี แต่ทำอะไรไม่ได้เรื่อง
ทำนาบนหลังคน
หมายถึง หาผลประโยชน์ใส่ตนโดยขูดรีดผู้อื่น
ทำบุญเอาหน้า
หมายถึง ทำบุญอวดผู้อื่น ไม่ใช่ทำด้วย
นกต่อ
หมายถึง คนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ (ใช้ในทางไม่ดี)
นายว่าขี้ข้าพลอย
หมายถึง พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย
น้ำขึ้นให้รีบตัก
หมายถึง มีโอกาสดีควรรีบทำ
น้ำบ่อน้อย
หมายถึง น้ำลาย
น้ำลดตอผุด
หมายถึง เมื่อหมดอำนาจความชั่วที่ทำไว้ก็ปรากฏ
บนบานศาลกล่าว
หมายถึง ขอร้องให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยเหลือ
บอกเล่าเก้าสิบ
หมายถึง บอกกล่าวให้รู้
บ่างช่างยุ
หมายถึง คนที่ชอบส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน
บุกป่าฝ่าดง
หมายถึง พยายามต่อสู้อุปสรรคต่าง ๆ
ปลาข้องเดียวกัน
หมายถึง คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน
ปลาหมอแถกเหงือก
หมายถึง กระเสือกกระสนดิ้นรน
ปากปลาร้า
หมายถึง ชอบพูดคำหยาบ
ปิดทองหลังพระ
หมายถึง ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่องเพราะไม่มีใครเห็นคุณค่า
ปิดประตูตีแมว
หมายถึง รังแกคนไม่มีทางสู้ไม่มีทางหนีรอดไปได้
ผ่อนหนักเป็นเบา
หมายถึง ลดความรุนแรง, ลดหย่อนลง
ผักชีโรยหน้า
หมายถึง การทำความดีเพียงผิวเผิน
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
หมายถึง คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ
ฝนตกไม่ทั่วฟ้า
หมายถึง ให้หรือแจกจ่ายอะไรไม่ทั่วถึงกัน
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
หมายถึง เพียรพยายามสุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล
ฝากผีฝากไข้
หมายถึง ขอยึดเป็นที่พึ่งจนวันตาย
พูดเป็นนัย
หมายถึง พูดอ้อม ๆ โดยไม่บอกเรื่องราวตรง ๆ
พุ่งหอกเข้ารก
หมายถึง ทำพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือโดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อน
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด
หมายถึง ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ
ม้าดีดกระโหลก
หมายถึง มีกิริยากระโดกกระเดกลุกลนหรือไม่เรียบร้อย (มักใช้แก่ผู้หญิง)
มีหน้ามีตา
หมายถึง มีคนนับถือ, มีเกียรติ, ได้รับความยกย่อง
แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก
หมายถึง หญิงที่ไปติดต่อระหว่างชายหญิงแต่ไม่สำเร็จในที่สุดก็ตกเป็นภรรยาของชายนั้นแทน
ไม่ใช่ขี้ไก่
หมายถึง ไม่เลว, มีอะไรดีเหมือนกัน ดูหมิ่นไม่ได้
ไม่มีเงาหัว
หมายถึง เป็นลางว่าจะตายร้าย
ไม้ใกล้ฝั่ง
หมายถึงแก่ใกล้จะตาย
ไม้เบื่อไม้เมา
หมายถึงไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งเป็นประจำ
ยกตนข่มท่าน
หมายถึง ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น, พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า
ยกเมฆ
หมายถึง เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น
ยกหางตัวเอง
หมายถึง ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง
รวบหัวรวบหาง
หมายถึง รวบรัดให้สั้น, ทำให้เสร็จโดยเร็วฉวยโอกาสเมื่อมีช่องทาง
รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
หมายถึง ใฝ่ดีจะมีความสุขความเจริญ ใฝ่ชั่วจะได้รับความลำบาก
ลมเพลมพัด
หมายถึง อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุมักเข้าใจว่าถูกกระทำ
ลิงหลอกเจ้า
หมายถึง ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ
วันพระไม่ได้มีหนเดียว
หมายถึง วันหน้ายังมีโอกาสอีก (มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต)
วัวลืมตีน
หมายถึง คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน
ศิษย์คิดล้างครู
หมายถึง ศิษย์เนรคุณที่มุ่งคิดทำลายล้างครูบาอาจารย์
ศิษย์มีครู
หมายถึง คนเก่งที่มีครู
สองจิตสองใจ
หมายถึง ลังเล, ตัดสินใจไม่ได้, เช่น จะไม่เชียงใหม่ดีหรือไม่ไปดี ยังสองจิตสองใจอยู่
สิ้นประตู
หมายถึง ไม่มีทาง
หนอนหนังสือ
หมายถึง คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ
หมากัดไม่เห่า
หมายถึง คนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า
หมูในอวย
หมายถึง สิ่งที่อยู่ในกำมือ
หวานนอกขมใน
หมายถึง พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม
หอกข้างแคร่
หมายถึง คนที่ใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว
อมพระมาพูด
หมายถึง ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ
นกน้อยทำรังแต่พอตัว
หมายถึง เป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตน เช่น มีเงินไม่มากนัก ก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว
ตีงูให้กากิน
หมายถึง ลงทุนลงแรงทำสิ่งที่ไม่เป็นคุณแก่ตน มีแต่จะเป็นโทษแล้วยังกลับไปเป็น
ประโยชน์แก่ผู้อื่นอีก เช่น ตีงูให้ตายแต่ไม่ได้นำงูมาเป็นอาหารกลับโยนงูให้กากิน
ขมิ้นกับปูน
หมายถึง คนสองคนที่ไม่ถูกกัน อยู่ใกล้กันเมื่อไรก็ต้องทะเลาะวิวาทกันเมื่อนั้น
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
หมายถึง คนที่มีอำนาจราชศักดิ์ หรือเป็นใหญ่เป็นโตก็ย่อมข่มคนที่เป็นผู้น้อยหรือผู้น้อยเหมือนกับคนที่มีกำลังมากย่อมมีภาษีเหนือกว่าคนอ่อนแอ
ฆ่าช้างเอางา
หมายถึง การทำลายสิ่งที่ใหญ่โตลงทุนลงแรงไปมาก เพื่อให้ได้ของสำคัญเพียง
เล็กน้อย โดยไม่คำนึงว่าการกระทำนั้นจะสมควรหรือไม่ขอให้ได้สิ่งที่ต้องการ
วัดรอยเท้า
หมายถึง มุ่งจะโต้ตอบ มุ่งแก้แค้น มุ่งอาฆาต เป็นสำนวนที่ใช้กับลูกที่คิดจะสู้พ่อ หรือ
ใช้กับผู้น้อย คิดจะหักล้างผู้ใหญ่ที่เคยบังคับบัญชาตนมาก็ได้
ม้าดีดกระโหลก
หมายถึง กริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลน มักใช้ว่าผู้หญิงที่ไม่เรียบร้อย
จะลุกจะนั่งจะเดินเตะนั่นโดนนี่ กระทบโน่นไปรอบข้าง
จับปูใส่กระด้ง
หมายถึง การเปรียบเทียบกับเด็กๆที่ซุกซน ไม่ยอมอยู่นิ่งผู้ใหญ่ต้องคอยควบคุมดูแล
ตลอดเวลา เพื่อให้เด็กอยู่ในระเบียบ
เป่าปี่ให้ควายฟัง
หมายถึง การพูดจาแนะนำสั่งสอนให้คนโง่เง่าฟัง เพื่อหวังให้เกิดประโยชน์แก่ตัวเขาเองแต่กลับไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย เพราะคนโง่ฟังไม่รู้เรื่องเหมือนกับคนเป่าปี่ให้ควายฟังควายฟังไม่รู้เรื่อง
ขนทรายเข้าวัด
หมายถึง การทำประโยชน์ให้ส่วนรวม โดยการกระทำอย่างไรอย่างหนึ่งแม้ไป
กระทบกระเทือนให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ ก็ถือว่ายกให้กับส่วนรวมไม่ต้องมีอะไรมาชดเชยก็ได้
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
หมายถึง คนที่ทำความผิดอย่างร้ายแรง ย่อมไม่สามารถปกปิดความผิดของตนได้ หรือ
พยายามหาหลักฐานมากลบเกลื่อน แต่ไม่สามารถปกปิดความผิดนั้นได้
ตักบาตรถามพระ
หมายถึง จะให้อะไรสักอย่างหนึ่งแก่ผู้อื่น ในเมื่อผู้นั้นเต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ต้องถามว่าจะเอาหรือไม่เอา เมื่อจะให้ก็ให้ทีเดียว เหมือนกับถวายอาหารพระ พระท่านจะรับของทุกอย่างไม่มีการปฏิเสธ
ยืนกระต่ายขาเดียว
หมายถึง การพูดยืนยันคำเดียวไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไป เช่น เขาไม่ได้ลักเงินไป
จริงๆถามเขาตั้งร้อยครั้งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้อาไปจริง
วัวแก่อยากกินหญ้าอ่อน
หมายถึง ชายแก่ที่มีเมียสาวคราวลูกหลาน มักใช้เป็นคำเปรียบเปรย เมื่อเห็นคนที่มีอายุ
มากไปจีบเด็กรุ่นลูกหลานหวังจะได้มาเป็นเมีย
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ
หมายถึง สอนคนที่มีสันดานไม่ดีอยู่แล้ว ให้มีความเฉลียวฉลาดมากยิ่งขึ้น แล้วก็
ก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นมาภายหลัง
วัวหายล้อมคอก
หมายถึง เกิดเรื่องเสียหายขึ้นแล้ว จึงคิดหาหนทางป้องกัน เหมือนมีสมบัติไม่เก็บรักษา
ให้ดี พอสมบัติหายไปแล้วจึงหาทางสร้างที่เก็บสมบัติ
ตาบอดได้แว่น
หมายถึง ได้รับสิ่งของที่มีคนเขาให้มา แต่ตัวเองไม่มีปัญญาจะใช้ เช่น มีคนให้พัดลมมาแต่ที่บ้านไม่มีไฟฟ้าเป็นต้น
ปลากระดี่ได้น้ำ
หมายถึง การแสดงอาการดีใจจนออกหน้าดูแล้วเกินงาม ส่วนใหญ่แล้วจะว่าผู้หญิงที่
แสดงอาการดีใจ และท่าทางไม่เรียบร้อย
ขี่ช้างจับตั๊กแตน
หมายถึง การจัดทำสิ่งใดที่เป็นการโกลาหลโดยใช่เหตุ หรือธุระที่ทำนั้นเป็นสิ่งเล็กน้อยไม่น่าจะต้องลงทุนหรือเตรียมการใหญ่โตเกินต้องการ เหมือนคนลงทุนมากได้ผลตอบแทนน้อย
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
หมายถึง ไม่ช่วยทำงานแล้วเกะกะขัดขวาง ทำให้งานเดินไปไม่สะดวก เหมือนกับคนที่นั่งไปในเรือไม่ช่วยทำงาน แต่ยังไปเอาเท้าไปราน้ำให้เรือแล่นช้า
วัดรอยเท้า
หมายถึง มุ่งจะโต้ตอบ มุ่งแก้แค้น มุ่งอาฆาต เป็นสำนวนที่ใช้กับลูกที่คิดจะสู้ลูก หรือ
ใช้กับผู้น้อย คิดจะหักล้างผู้ใหญ่ที่เคยบังคับบัญชาตนมาก็ได้
หนีเสือปะจระเข้
หมายถึง คนที่มีความทุกข์กำลังจะได้รับอันตราย ไปขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
แต่กลับไปพบความทุกข์อันตรายอีก จากบุคคลที่ไปขอพึ่งพิง
กระต่ายตื่นตูม
หมายถึง การตกใจเกินกว่าเหตุ เมื่อมีเหตุอะไรเกิดขึ้น ยังไม่ทันพิจารณาให้ถี่ถ้วนก็ตกใจไปก่อนแล้ว เหมือนกับนิทานเรื่องกระต่ายตื่นตูม
จับปลาสองมือ
หมายถึง ต้องการตำหนิชายหรือหญิงที่ใจไม่แน่นอน เช่น รักคนสองคนในเวลา
เดียวกัน ดีไม่ดีคนรักอาจหลุดมือไปทั้งสองคนเลยก็ได้
ไข่ในหิน
หมายถึง สิ่งต่างๆ หรือสิ่งใด ที่มีลักษณะเปราะมอมบางอ่อนแอ ต้องทะนุถนอมเป็น
พิเศษ ไม่ให้ได้รับอันตรายหรือเกิดการเสียหายได้
ดินพอกหางหมู
หมายถึง การปล่อยงานคั่งค้างอยู่เรื่อยๆ เพราะมัวแต่ผัดวันประกันพุ่ง ในไม่ช้างานที่คั่ง
ค้างนั้นจะพอกพูนมากขึ้นทุกที จนเป็นภาระที่หน้าเบื่อหน่ายภายหลัง
คางคกขึ้นวอ
หมายถึง การประชกประชันหรือเสียดสีเมื่อปรากฏว่าบุคคลใด บุคคลหนึ่งซึ่งขาดลักษณะเหมาะสมได้รับการยกย่อง จนเกินฐานะและพื้นเพเดิม
เอาเป็ดไปขันประชันไก่
หมายถึง การเอาของที่ไม่ดี ไม่มีค่ามาแทนของดีของมีค่า เช่น นำทองแดงหัวพลอยไป
แทน แหวนทองคำ ฝังเพชร เป็นต้น
|
|
|