Ran khaa ya
     
  กิจกรรมในวันสงกรานต์
        จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมต่างๆ ที่เราได้ถือปฏิบัติสืบต่อ ๆ กันมานั้น มีความมุ่งหมายให้เกิดความสงบสุขแก่จิตใจครอบครัว และสังคมเป็นสำคัญ กิจกรรมที่ทำก็มีอย่างหลากหลายและมีเหตุผลในการกระทำดังกล่าวทั้งสิ้น ซึ่งสามารถประมวลกิจกรรมต่างๆ ซึ่งจัดดังต่อไปนี้
ก่อนวันสงกรานต์
        เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นในวันปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง กิจกรรมที่ทำได้แก่
       1. การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ ข้าวของต่างๆ รวมทั้งสถานที่สาธารณะต่างๆ วัด ศาลา บริเวณชุมชน เป็นต้น
       2. การเตรียมเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ไปทำบุญ รวมทั้งเครื่องประดับตกแต่งต่างๆ นอกจากนี้ยังผ้าสำหรับไปไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรดน้ำขอพรด้วย
       3. การเตรียมอาหารในการไปทำบุญ ทั้งของคาว ของหวานที่พิเศษ ได้แก่ การเตรียมขนม ที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของวันตรุษและวันสงกรานต์ นั่นคือ ข้าวเหนียวแดง สำหรับวันตรุษ และขนมกวน หรือกาละแมสำหรับวันสงกรานต์
ช่วงวันสงกรานต์
       เมื่อวันสงกรานต์ ก็จะเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใสทำใจให้เบิกบาน เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้
       1. การทำบุญตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารมาถวายพระที่วัด
       2. การทำบุญอัฐิ อาจจะทำตอนไหนก็ได้ เช่น หลังจากพระภิกษุ – สามเณรฉันเพลแล้ว บังสุกุล หรือ นิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หากไม่มีให้เขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วลงในแผ่นกระดาษ แล้วนำไปเผาเช่นเดียวกับการเผาศพ
       3. การสรงน้ำพระ มี 2 แบบ คือการสรงน้ำพระภิกษุสามเณร และ การสรงน้ำพระพุทธรูป
       - การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร จะใช้แบบเดียวกับการอาบน้ำ คือการใช้ขันตักรดที่ตัวท่านหรือที่ฝ่ามือก็ได้แล้วแต่ความนิยม
       - การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่หรือเชิญมาประดิษฐานในที่เหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบน้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอม ประพรมที่องค์พระ
       4. การก่อพระเจดีย์ทราย จะทำในวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่ 13 – 14 เมษายน เป็นการขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่างๆ ในบริเวณวัด โดยมีวัตุประสงค์เพื่อให้วัดได้ใช้ประโยชน์
       5. การปล่อยนกปล่อยปลา เป็นการทำบุญทำทานอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการปล่อยนกปล่อยปลาที่ติดกับดัก บ่วง ให้สู่อิสระ หรือปลาที่อยู่ในน้ำตื่นๆ ซึ่งอาจจะตายได้
       6. การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ หรือการรดน้ำขอพร เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ของครอบครัว
       7. การเล่นน้ำ หลังจากเสร็จพิธีต่างๆแล้ว เป็นการเล่นน้ำ เพื่อเชื่อมสัมพันธ์ระหว่าง ญาติมิตร เพื่อฝูง โดยการใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบหรือน้ำหอม หรือจะใช้น้ำอบอย่างเดียวก็ได้ โดยการรดน้ำกันเบาๆ ด้วยความสุภาพ
       8. การเล่นรื่นเริงหรือมหรสพต่างๆ เป็นการเชื่อมความสามัคคีและเพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งยังเป็นการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นให้คงอยู่ต่อไป เช่น ลิเก ลำตัด โปงลาง หมอลำ หนังตะลุง
 
   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2556
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน