ดาวศุกร์
ดาวศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ในบรรดาดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงในระบบสุริยะ ถูกตั้งชื่อตามเทพเจ้าวีนัส ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักและความงามในยุคโรมันเนื่องจากเป็นดาวเคราะห์ที่มีความสว่างมากที่สุดบนฟากฟ้าดุจอัญมณี และเนื่องด้วยดาวศุกร์จะปรากฏบนฟากฟ้าไม่ตอนหัวค่ำก็ตอนรุ่งเช้าเวลาใดเวลาหนึ่ง
นักดาราศาสตร์สมัยก่อนจึงเข้าใจว่าเป็นดาวสองดวง (ดาวประจำเมืองในตอนหัวค่ำ และดาวประกายพรึกในตอนรุ่งเช้า) รวมทั้งเมื่อส่องด้วยกล้องดูดาวจะพบว่าดาวศุกร์มีลักษณะเป็นเสี้ยว (phase) คล้ายดวงจันทร์ ซึ่งทั้งปรากฏการณ์การขึ้น-ตกของดาวศุกร์ในช่วงหัวค่ำหรือรุ่งเช้า รวมถึงลักษณะการเป็นเสี้ยวของดาวศุกร์บ่งบอกว่าดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน และยังสนับสนุนทฤษฎีของโคเปอร์นิคัสที่ว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (heliocentric) ของระบบสุริยะ
มีคนเปรียบเทียบว่า ดาวศุกร์เป็นดาวฝาแฝดกับโลก เนื่องจากดาวทั้งสองมีความคล้ายกันทั้งขนาด, มวล, ความหนาแน่นและปริมาตร โดยมีทฤษฎีว่าดาวศุกร์กับโลกอาจกำเนิดมาจากกลุ่มก๊าซในบริเวณและช่วงเวลาเดียวกัน แต่จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการณ์โดยยานอวกาศที่โคจรรอบดาวศุกร์กลับพบว่า ดาวศุกร์กับโลกมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง บนดาวศุกร์ไม่มีน้ำและไอน้ำอยู่เลย ชั้นบรรยากาศมีความหนาแน่นมากและมีความดันบรรยากาศสูงถึง 92 เท่าของความดันบรรยากาศบนโลกที่ระดับน้ำทะเล บรรยากาศประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมทั้งไอของกรดซัลฟิวริก ด้วยอุณหภูมิที่พื้นผิวสูงถึงประมาณ 482 องศาเซลเซียส
เนื่องจากมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่มาก จึงทำให้ความร้อนที่เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานจากพื้นผิวของดาวศุกร์ที่ได้รับแสงจาก
ดวงอาทิตย์กลับไม่ถูกปลดปล่อยออกสู่อวกาศ แต่จะสะท้อนชั้นคาร์บอนไดออกไซด์ และกักเก็บความร้อนภายในชั้นบรรยากาศ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ปรากฏการณ์เรือนกระจก" (greenhouse effect) ถ้าไม่มีปรากฏการณ์เรือนกระจกบนดาวศุกร์ อุณหภูมิพื้นผิวบนดาวศุกร์จะต่ำกว่านี้มาก คาดว่าอาจถึง -100 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เมื่อปรากฏในตอนรุ่งสางทางทิศตะวันออกจะเรียกว่า ดาวรุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก (Morning Star) ในตอนค่ำทางทิศตะวันตกหลังจากดวงอาทิตย์หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้วจะเรียกว่า ดาวประจำเมือง (Evening Star) ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าโลกเพียงเล็กน้อย (ประมาณ 0.8 เท่า) จึงได้ชื่อว่าเป็นดาวเคราะห์ฝาแฝดกับโลก
ดาวศุกร์จะแตกต่างกับโลกมากตรงส่วนประกอบของบรรยากาศและการอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า จึงทำให้อุณหภูมิพื้นผิวสูงกว่าโลกมาก และอีกสาเหตุหนึ่งก็คือ เนื่องมาจากดาวศุกร์มีบรรยากาศที่หนาทึบ ทำให้ดูดเอาความร้อนจากดวงอาทิตย์ไว้ได้มาก และทำหน้าที่เสมือนห้องหลังคากระจกใสหรือ ปรากฏการณ์เรือนกระจก ที่เรียกว่า Greenhouse Effect ซึ่งอุณหภูมิที่พื้นผิวของดาวศุกร์นี้จะสูงกว่าดาวพุธมาก ทั้งๆ ที่ดาวพุธอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า บรรยากาศส่วนใหญ่จะประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นส่วนมาก นอกจากนั้นแล้วดาวศุกร์ไม่มีบริวาร
ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวรุนแรงมาก ทั้งนี้เพราะดาวศุกร์มีบรรยากาศหนาทึบเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้มาก นอกจากนี้ยังมีไอของกรดกำมะถัน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์กับไอน้ำ บรรยากาศของดาวศุกร์มีอาร์กอน ไนโตรเจน คาร์บอนมอนอกไซด์ นีออน-ไฮโดรคลอไรด์ และไฮโดรฟลูออไรด์ ทำให้ความกดดันบรรยากาศสูงกว่าโลก 90 เท่า ปรากฏการณ์เรือนกระจกบนพื้นผิวดาวศุกร์ ทำให้ดาวศุกร์ร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน ตอนกลางวันอุณหภูมิสูงถึง 477 องศาเซลเซียส
ดาวศุกร์จะหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลานานกว่าการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ 1 รอบ และหมุนในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ซึ่งหมุนสวนทางกับดาวเคราะห์ดวงอื่นและสวนทางกับการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ โดยใช้เวลาในการหมุนรอบตัวเอง 243.0187 แต่ 1 วันของดาวศุกร์ยาวนานเท่ากับ 117 วันของโลก เนื่องจากระยะเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกของดาวศุกร์ยาวนาน 58.5 วันของโลก และดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์รอบละ 225 วันของโลก ดังนั้น 1 ปีของดาวศุกร์จึงยาวนานเท่ากับ 225 วันของโลก
ดาวศุกร์มีความสัมพันธ์กับมนุษย์คือคนที่มีคู่รักครองรักกันจะมีความเชื่อว่าเมื่อดาวนี้ขึ้น หรือสว่าง คู่รักจะขอพรจากดาวแห่งความรักเพื่อให้ครองรักกันไปนานๆ ไม่มีสิ่งใดมาทำลายความรักของเขาได้ หรือเชื่อว่าดวงดาวนี้เป็นดวงดาวที่มีความสว่างไสว นำพาชีวิตไปสู่สิ่งที่ดีในอนาคต
|