สรุปองค์ความรู้
ขนมไทย มีความสัมพันธ์กับคนไทยอย่างแยกไม่ออก และเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อต่างๆ มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การทำขนมไทยนั้นมีขั้นตอนหลากหลาย และยังต้องอาศัยฝีมือ ความประณีต ประดิษฐ์ประดอยสวยงาม ด้วยจุดเริ่มต้นจากการทำถวายในวัง ออกมาสู่ชาวบ้าน เป็นการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นขนมไทย มีความสัมพันธ์กับคนไทยอย่างแยกไม่ออก และเข้ามาอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อต่างๆ มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย การทำขนมไทยนั้นมีขั้นตอนหลากหลาย และยังต้องอาศัยฝีมือ ความประณีต ประดิษฐ์ประดอยสวยงาม ด้วยจุดเริ่มต้นจากการทำถวายในวัง ออกมาสู่ชาวบ้าน เป็นการถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นดังนั้น วิธีการที่ง่ายที่สุด ที่เราทุกคนสามารถร่วมกันอนุรักษ์ขนมไทยไว้ไม่ให้สูญหายก็คือ การหันมา บริโภคขนมไทย เพราะเมื่อเราบริโภคมากขึ้น แม่ค้าขนมไทยก็จะมีกำลังใจในการผลิต และยังคงสืบสานขนมไทยไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลา
คำว่า ขนม เข้าใจว่ามาจากคำสองคำที่มาผสมกันคือ ข้าวหนม และ ข้าวนม เข้าใจว่าเป็นข้าวผสมน้ำอ้อย น้ำตาล โดยอนุโลมคำว่าหนม แปลว่า หวานข้าวหนม ก็แปลว่า ข้าวหวาน เรียกสั้นๆ เร็วๆ ก็กลายเป็น ขนม ไปส่วนที่ว่ามาจากข้าวนม (ข้าวเคล้านม) นั้นดูจะเป็นตำนานแขกโบราณ อย่างข้าวมธุปายาส (ที่นางสุชาดาทำถวายพระพุทธเจ้าเมื่อตอนตรัสรู้ก็ว่าเป็นข้าวหุงกับนม)คำว่า ขนม มีใช้มาหลายร้อยปียากจะสันนิฐานแน่นอนได้ เช่นเดียวกับไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่าขนมไทยเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยใดเป็นครั้งแรก แต่ตามประวัติศาสตร์ไทยมีหลักฐานตอนหนึ่งว่า มีการจารึกชื่อขนมในแท่งศิลาจารึก เป็นการจารึกแบบลายแทงสมัยโบราณ ขนมที่ปรากฏคือ ไข่กบ นกปล่อย บัวลอย อ้ายตื้อ ถามผู้ใหญ่ดูถึงได้รู้ว่า ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก อ้ายตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว ขนมทั้งสี่ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกันคือ น้ำกะทิ โดยใช้ถ้วยใส่ขนม ซึ่งเราเรียกการเลี้ยงขนม 4 อย่างนี้ว่า ประเพณี 4 ถ้วยขนมประเภทที่ใช้ข้าว (แป้ง) น้ำตาล มะพร้าว คงจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะมีการติดต่อกับต่างประเทศ กล่าวว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีท่านผู้หญิงของเจ้าพระยาวิชาเยนชร์บรรดาศักดิ์ ท้าวทองกีบม้า ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับชาวพนักงานของหวาน ได้ประดิษฐ์คิดค้นขนมตระกูลทองเพราะมีไข่ผสมคือ ทองหยิบ ทองหยอด ทองพลุ ฝอยทอง ทองโปร่ง เป็นต้น
ที่มา : http://student.kn.ac.th/~st26394/work/3.html
|