|
|
ผลกระทบ
ในประเทศไทยตอนนี้ที่เห็นได้ชัดคือกลุ่มการเมืองและสังคม กลุ่มการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคเพื่อไทย ต่างก็ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คทั้งเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์
2.1 กลุ่มการเมือง ในบรรดานักการเมือง จากสถิติที่แสดงที่เฟซบุ๊กเพจของคุณอภิสิทธิ์มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 870,000 คน
มีคนเข้ามาคลิกชอบสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์โพสต์ ประมาณ 2000-4000 คน เฟซบุ๊กเพจของคุณยิ่งลักษณ์มีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 540,000 คน มีคนเข้ามาคลิกชอบสิ่งที่คุณยิ่งลักษณ์โพสต์ ประมาณ 2000-4000 คน เฟซบุ๊กเพจของคุณกรณ์ จาติกวนิชมีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 230,000 คน ทวิตเตอร์ของคุณทักษิณ และคุณอภิสิทธิ์มีคนตาม 250,000 คน ในประเทศไทย ผลกระทบของการใช้โซเชียลมีเดียในกลุ่มการเมืองยังไม่เห็นชัดเท่ากับในต่างประเทศ อาจจะเป็นเพราะส่วนใหญ่คนไทยที่ใช้โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่กระจุกตัวเฉพาะในกรุงเทพและปริมณฑล จากข้อมูลที่เว็บไซต์ของเฟซบุ๊กในวันที่ 18 ธันวาคม 2554 พบว่าผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กในไทยอยู่ในกรุงเทพหรือเมืองที่อยู่ในช่วง 50 ไมล์ห่างจากกรุงเทพจำนวน 9,767,660 คน คิดเป็น 73.57 เปอร์เซนต์ของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กทั้งหมดซึ่งมีประมาณ 13,276,200 คน แต่ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศอาหรับซึ่งเริ่มจากประเทศตูนิเซีย ซึ่งประชาชนสามารถใช้โซเชียลมีเดียเพื่อช่วยในการรวมตัวกันโค่นล้มผู้นำซึ่งอยู่ในอำนาจนาน 23 ปี จากนั้นประชาชนในประเทศอาหรับประเทศอื่น เช่น อิยิปต์ แอลจีเรีย เยเมน บาห์เรน และจอนดอน ก็ลุกขึ้นมาประท้วงความไม่เป็นธรรมของผู้นำในการปกครองบริหารประเทศหลายปี ในประเทศเหล่านี้ ประชาชนเหล่านี้อาจมีความรู้สึกไม่พอใจรัฐบาลมานาน แต่ไม่มีช่องทางในการแสดงออกความรู้สึกไม่พอใจหรือในการรวมตัวกัน เห็นอกเห็นใจกัน และช่วยกันแสดงพลัง โซเชียลเน็ตเวิร์คผ่านเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ทำให้การประท้วงต่อต้านผู้นำที่เป็นเผด็จการของประเทศเหล่านี้ได้สำเร็จ
2.2กลุ่มสังคมกลุ่มสังคมในไทยโดยเฉพาะกลุ่มพลังสังคมในเชิงบวกได้พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการปลุกกลุ่มคนไทยให้มีจิตอาสามากขึ้นหรือในการรวมตัวกันในการทำงานเพื่อสังคมของคนที่มีจิตอาสา อาทิเช่น กลุ่มอาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 110,000 คนและมีคนติดตาม 33,000 คนทางทวิตเตอร์
กลุ่มเครือข่ายพลังบวก ซึ่งมีเฟซบุ๊กเพจที่คนคลิก like ประมาณ 23,000 คนและมีคนติดตาม ผ่านทวิตเตอร์
หรือล่าสุดจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าโซเชียลมีเดียมีส่วนอย่างมากในการทำให้พลังประชาชนมีส่วนในการเข้าไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนคนอื่น นอกจากมีการรวมตัวอาสาสมัครผ่านกลุ่มสยามอาสา ก็มีการสร้างกลุ่ม thaifloodทั้งบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ที่ให้ทั้งความรู้ สิ่งของ และความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
2.3 การค้าและเศรษฐกิจ บุคคลที่เป็นตัวอย่างในการใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการค้าและเศรษฐกิจได้ดีคือคุณตัน ภาสกรนท ซึ่งเป็นคนที่มีเฟซบุ๊กเพจที่มีจำนวนคนคลิก like มากที่สุดในประเทศไทย มากยิ่งกว่าเฟซบุ๊กเพจของดารา ศิลปิน หรือนักการเมือง คนตันมีเฟซบุ๊กเพจที่มีคนคลิก like 1,082,053 คน ซึ่งคุณตันใช้เพจประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทคุณตัน
ในบรรดาธุรกิจต่างๆ พบว่าธุรกิจอาหารมีการสร้างเฟซบุ๊กเพจและมีคนเข้าไปคลิก like และติดตามข่าวเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น Oishi New Station ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 500,000 คน รองลงมาคือ LaysThailand, และ McDonald Thai ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน
ธุรกิจอีกอย่างหนึ่งที่ประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทางโซเชียลมีเดีย คือ ธุรกิจทางด้านไอทีและเทเลคอม เช่น BlackBerry Thailand มีคนคลิก like ประมาณ 400,000 คน DTAC มีคนคลิก like ประมาณ 300,000 คน และ AIS มีคนคลิก like ประมาณ 200,000 คน
2.4 กลุ่มธรรมะ เฟซบุ๊กเพจของท่าน ว. วชิรเมธมีคนเข้ามาคลิกชอบประมาณ 700,000 คน
ทวิตเตอร์ของท่าน ว. วชิรเมธีมีคนตาม 440,000 คน นอกจากนี้ มี พระท่านอื่นหรือหน่วยงานอื่นที่พยายามใช้โซเชียลมีเดียในการเผยแพร่ธรรมะ อาทิเช่น หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญซึ่งมีคนคลิ like ประมาณ 37,000 คน พระไพศาลที่ใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการเผยแพร่ธรรมะมีคนคลิก like ประมาณ 30,000 คน
พระอาจารย์มิตซูโอะมีคนคลิก like ประมาณ 20,000 คน
2.5 กลุ่มสุขภาพ มีกลุ่มนมแม่ซึ่งมีคนคลิก like 6,000 คน กลุ่ม rainbow room เพื่อสนับสนุนและให้ความรู้พ่อแม่ที่มีลูกที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ลูกที่เป็นออทิสติกซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 1,600 คน กลุ่มเฟซบุ๊กเพจ สสส
2.6 กลุ่มการศึกษานอกระบบ มีทวิตเตอร์ของคุณ andrew biggs ซึ่งมีคนตาม 160,000 คน มีเฟซบุ๊กเพจของ English Breakfast ซึ่งมีคนคลิก like ประมาณ 15,000 คน
3. ข้อดี ข้อเสียของระบบโซเซียลเน็ตเวิร์คที่มีการนำมาใช้ในปัจจุบัน ปัญหา และทางออก
ข้อดี
1. การสื่อสารข้อมูลไปสู่ผู้คนเป็นจำนวนมากทำได้รวดเร็ว สะดวก และง่าย
2. ช่องว่างการสื่อสารระหว่างนักการเมืองหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงกับ คนธรรมดาทั่วไปน้อยลง สามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง
3. ทำให้เกิดการรวมตัวกันในการทำกิจกรรมดีๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น
4. เป็นช่องทางที่ดีในการหางานทำหรือได้คนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานด้วย
5. สามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้ เพราะนักเรียนและนักศึกษามักจะออนไลน์บนเฟซบุ๊ก สไลด์แนะนำการใช้เฟซบุ๊กเพื่อการเรียนการสอนที่
ข้อเสีย
1. ไม่มีวิธีการตรวจสอบว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นเป็นข้อมูลที่เป็นจริงหรือไม่
2. หลายคนไม่ระวังการใช้โซเชียลมีเดียซึ่งทำให้หลายคนได้ข้อมูลที่ไม่เป็นสาระ หรือเป็นข้อมูลเชิงลบ เช่น การโพสต์ด่าว่าคนอื่น
ปัญหา
1. หลายคนมักโพสต์ข้อความที่ไม่สุภาพ ไม่เป็นจริง หรือมีผลกระทบผู้อื่นในทางลบ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2. หลายคนมักโพสต์ข้อมูลส่วนตัวซึ่งผู้อื่นอาจจะใช้ข้อมูลนั้นในทางที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะ ดารา ศิลปิน หรือบุคคลสาธารณะควรจะระมัดระวังให้มากในการโพสต์อะไรก็ตามที่
นักข่าวอาจจะเขียนเป็นข่าวได้
แนวทางแก้ปัญหา
- พยายามใช้อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ สไลด์การใช้เฟซบุ๊กอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถดูได้ เช่น ใช้รหัสผ่านที่เดายาก ใช้ https เพื่อไม่ให้ผู้อื่นลักลอบดูข้อมูลที่เราโพสต์ คิดให้ดีก่อนที่จะโพสต์อะไร ถ้าอะไรที่คิดว่าโพสต์แล้วทำให้คนใดคนอื่นเสียใจหรือเดือดร้อน อย่าโพสต์
ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/471684
|
|
|