เราจะแก้ไขอย่างไร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์กล่าวไว้ว่า อิทธิบาท 4 คือ หนทางนำไปสู่ความมีฤทธิ์หรือความสำเร็จ
|
1.ฉันทะ ความรัก ความเต็มใจที่จะทำงาน
2.วิริยะ ความพากเพียร อุตสาหะ
3.จิตตะ ความมีใจจดจ่อ
4.วิมังสา ความเข้าใจในงานที่ทำ
ทั้ง 4 อย่างนี้คือสิ่งที่จะทำให้เราเอาชนะความขี้เกียจและนำไปสู่ความสำเร็จ เริ่มจากฉันทะ ท่านกล่าวไว้ว่า จะเกิดขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ เมื่อรู้ว่าทำแล้วเราจะได้ประโยชน์อย่างไรก็จะเกิดความอยากทำขึ้นมา เช่น ถ้ามีประชุมคน 100 คน ขอรับสมัครคนทำงานก่อนสักชั่วโมงให้ค่าตอบแทนแสนบาท เมื่อเห็นว่าสิ่งที่ทำมีประโยชน์และคุ้มค่าจึงเกิดความตั้งใจที่จะทำงาน
แต่มีข้อเปรียบเทียบแบบให้เห็นชัดเจนว่า เมื่อใดที่ประโยชน์ชัดเจนคนจะมีความรู้สึกอยากทำ แต่ถ้าเป็นประโยชน์แบบไกลๆ ไม่ค่อยชัดเจนนัก ความรู้สึกอยากทำก็น้อยลง เช่น เด็กเรียนหนังสือรู้หรือไม่ว่าจบมาแล้วจะมีงานดีๆทำ ถ้าเรียนก็จะทำให้มีอนาคตที่ดีซึ่งรู้กันอยู่ทุกคน แต่ต้องใช้เวลากว่าหลายปีจึงทำให้รู้สึกท้อบ้าง แต่ถ้าขยันชั่วโมงเดียวสำเร็จทั้งชีวิตคงขยีนกันหมดทั้งโลก เมื่อระยะเวลาที่นานอาจทำให้ขยันบ้างไม่ขยันบ้าง แต่โดยสรุปแล้วคือ เมื่อใดก็ตามที่เห็นประโยชน์ที่ชัดเจน รวดเร็วเท่าไหร่ฉันทะจะเกิดและวิริยะความพากเพียรจะตามมา
|
เรียนไม่รู้เรื่อง จะแก้ไขอย่างไรดี?
มีตัวอย่างของคนที่ไม่ชอบเรียนในบางวิชา แต่ต่อมาอีก 1-2 ปี กลับเป็นคนที่ชอบวิชานั้นไปได้ เมื่อดูจะพบว่าสาเหตุเกิดจากการดูว่าตนเองทำได้หรือไม่ เพราะวิชาไหนที่ทำได้ก็จะชอบเป็นพิเศษคิดว่าเรียนสู้คนอื่นได้ ฉะนั้นการรู้เรื่องหรือไม่รู้เรื่องบางครั้งอยู่ที่จุดเริ่มต้น เช่น เรียนวิชานั้นตอนต้นมาแล้วมีเหตุไม่สบาย ไม่ได้ไปโรงเรียนหรือไปสนใจสิ่งอื่นกระทั่งละเลยไป
ทำให้พื้นฐานไม่พอทำให้เป็นวิชาที่ไม่ค่อยชอบส่งผลให้คะแนนไม่ดี ถ้าหากเราทุ่มเทมากขึ้นสิ่งไหนที่ทำไม่ได้ยิ่งทุ่มเทเป็นพิเศษ และดูแบบจริงจังจนกระทั่งรู้เรื่อง จะพบว่าเราพ้นจากโรคภูมิแพ้วิชานั้นแล้ว กลายเป็นวิชาที่ชอบหรือเป็นวิชาโปรดแทน ต้องเอาใจจดจ่อและมีความเข้าใจในการศึกษาในการเรียนต้องอดทนผ่านไปให้ได้ ถึงแม้เราจะไม่เก่ง แต่ให้เรามีความตั้งใจ ทำอย่างเต็มที่ความสำเร็จรอเราอยู่ข้างหน้า
ทำไมคนจีนจึงได้ชื่อว่าเป็นคนขยัน?
เรารู้ประวัติศาสตร์ของจีนมาค่อนข้างมาก ทุกคนที่โตมาต้องสู้กันทุกคน เป็นชีวิตที่ต้องปากกัด ตีนถีบเพราะมีคู่แข่งมาก ฉะนั้นคนจีนจึงถูกสถานการณ์แวดล้อมหล่อหลอมจนฝังเป็นวัฒนธรรมของชาติ ทุกคนใฝ่ฝันความสำเร็จ ปลุกฝังกระทั่งว่าแม้แต่ขอทานยังสามารถเป็นฮ่องเต้ได้ นำตัวอย่างที่ดีจากประวัติศาสตร์มาสอน เช่น จูหยวนจาง ปฐมฮ่องเต้แห่งราชวงศ์หมิง อดีตเป็นแค่คนขอทานต่อมาไปเป็นหลวงจีนและศึกมามีภรรยาและลูกของหัวหน้าโจร สู้จนกระทั่งขับไล่มองโกลออกจากประเทศได้สำเร็จ จึงสถาปนาราชวงศ์หมิงครองอำนาจในจีนอยู่เป็นเวลา 300 ปี
คนจีนจึงนำมาสอนกันว่า แม้แต่ขอทานยังก้าวมาเป็นฮ่องเต้ได้ แล้วทำไมลูกฉันจะเป็นฮ่องเต้ไม่ได้ คนจีนทุกคนเกิดมาพ่อแม่จึงฝากความหวังทั้งหมดไว้กับลูก อนาคตลูกต้องเป็นสุดยอดในสังคมจีน เด็กจีนทุกคนจึงมีความใฝ่ฝันและมีความทะเยอทะยาน ทำถูกหลักในการปลูกฝังฉันทะ เพราะล้วนมีความฝันสูงและหนทางของความฝันคืออะไรที่จะทำให้ก้าวไปตรงนั้น จำเป็นต้องมีความรู้ จึงจ้องพยายามเรียนหนังสือ เมื่อมีโอกาสมาเมื่อไหร่ต้องทุ่มเท
|
มีตัวอย่างเล่าต่อกันมา สมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าบางคนครอบครัวยากจนมากทั้งวันต้องชายงานในสวน ไร่นาพ่อแม่ ตกกลางคืนจะอ่านหนังสือเพราะไม่มีเวลาอ่านกลางวันบางคนต้องปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านเพื่ออ่านหนังสือ บางคนไปจับจิ้งหรีดมาห่อผ้าไว้เพื่ออาศัยแสงจากจิ้งหรีดเพราะไม่มีเงินซื้อแม้กระทั่งเทียนไข คนจีนมีเรื่องเล่ามากมายที่มาเล่าให้ลูกหลานฟังตั้งแต่ยังเล็กทำให้เด็กจีนถูกปลูกฝังมาตลอด พ่อแม่จีนแต่ละคนจะมีคำติดปากว่า "สิ่งใดที่ข้าพเจ้ายังทำไม่สำเร็จ จะทุ่มเทให้ลูกมาทำให้สำเร็จ" ซึ่งถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ความหวังของพ่อแม่จึงฝากไว้กับลูก ตนเองทำสุดชีวิตยังไม่สำเร็จไม่เป็นไรเพราะลูกจะมารับภาระนี้แทน จึงฝึกลูก ดูแลและให้ได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุด เพราะชีวิตคนเราสั้นจึงต้องมีคนมารับผิดชอบต่อ
คนจีนจึงมีคติที่ว่า อกตัญญูมีอยู่ 3 ไร้ทายาท จัดอยู่อันดับหนึ่ง ไม่มีทายาทถือเป็นการอกตัญญูจึงต้องพยายามมีลูกและถ่ายทอดความฝันให้แก่ลูก เพื่อให้มาสร้างชื่อเสียงวงศ์ตระกูล ลูกหลานทุกคนต้องคำนึงถึงพ่อแม่และบรรพบุรุษ เพื่อพยายามทำให้ดีที่สุด ซึ่งฝากกันมารุ่นต่อรุ่น ในภาวะสังคมที่แข่งขันกันมาก ทุกคนต้องสู้ดังนั้นเมื่อใครที่ให้โอกาสแก่เขา เขาจะรู้สึกขอบคุณเป็นอย่างมากและเห็นคุณค่าของโอกาส ตระหนักสำนึกในพระคุณ คนจีนจึงมีคติว่าบุญคุณต้องทดแทน ของไทยเราจึงไม่เข้มแข็งเท่ากับของจีน ทำให้ประเทศจีนพัฒนาประเทศได้รวดเร็ว ตั้งแต่ที่เติ้ง เสี่ยวผิงเปิดประเทศใช้ระบบการตลาดเข้ามาถือเป็นโอกาสที่ดี จึงทำให้ทุกคนทุ่มเทสุดชีวิต สังคมโดยรวมจึงเกิดการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งสอดคล้องตามหลักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขยันเกินกลัวเครียด จะขยันอย่างไรให้มีความสุข?
คนที่ทำงานอย่างนี้เขามีความสุขที่ได้ทำงาน ถ้าเมื่อไหร่ที่ไม่ได้ทำงานจะเฉามาก บางคนทำงานมาทั้งชีวิต อายุ 70-80 ก็ยังทำเพราะทำถึงมีความสุข เมื่อไหร่ที่ลูกบอกให้อยู่บ้านเพราะอายุมากแล้วเกิดอาการเฉาชีวิตได้ คนที่เป็นนักทำงานระหว่างที่ทำงานหนักๆเขามีความสุข
ขึ้นอยู่กับว่าเราทำแบบเป็นผู้กระทำหรือถูกบังคับให้กระทำ ถ้าทำงานอย่าง Active ทำแบบเป็นผู้กระทำเราเป็นเจ้าของงาน ควบคุมการทำงานว่าทำมากทำน้อยเราจะไม่เครียด แต่ถ้าทำแบบ Passive เป็นการฝืนใจบังคับ ฝืนใจให้กระทำ เจ้านายเร่งมาไม่ทำก็ต้องโดน เมื่อเจองานมากๆเข้ายิ่งทำให้เครียดเพราะถูกบังคับให้ทำ
ที่มา : http://www.dhamdee.com/?p=7158
|