. สาเหตุของการทุจริตคอร์รัปชั่น
การคอร์รัปชั่นที่เกิดจากตัวบุคคล (ธานินทร์ กรัยวิเชียร,2548, หน้า) มาจากความต้องการอำนาจ ต้องการความมั่งคั่งและต้องการสถานภาพที่ทุกคนยอมรับ ทั้ง 3 ประการพร้อมกัน ซึ่งมาจากกิเลสในตัวมนุษย์ อธิบายความเพิ่มเติมได้ว่า มนุษย์ต้องการได้ในสิ่งที่ตนไม่มีทางได้มาด้วยความชอบธรรมตามสังคม กฎหมายและศีลธรรม ตามหลักพระพุทธศาสนา การคอร์รัปชั่น ความไม่เป็นธรรมในสังคม เกิดขึ้นเนื่องจากขาดหลักธรรมในหัวข้อ อคติ4 ซึ่งทำให้เกิดความไม่เที่ยงธรรม สังคมจะดีได้ต้องปราศจาก4 อคติ ดังนี้
1.ฉันทาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจแห่งความรัก ความชัง เป็นที่มาของการคอร์รัปชั่นในสังคมทุกระดับ
2.โทสาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากอำนาจความโกรธ เป็นที่มาแห่งการกลั่นแกล้งกันในสังคม
3.โมหาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากความโง่เขลาเบาปัญญา ทำให้สังคมขาดกฎระเบียบที่แน่นอน
4.ภยาคติ ความลำเอียงอันเกิดจากความกลัวภัยมาถึงตน ก่อให้เกิดการเอาตัวรอดและการผลักภารสู่สังคม
ผลวิจัยการทุจริตในวงราชการ สาเหตุของการฉ้อราษฎร์บังหลวง
สาเหตุทางวัฒนธรรมและสังคม
สาเหตุทางสังคมของการฉ้อราษฎร์บังหลวง จะรวมถึงความไม่เสมอกันอย่างกว้างขวางในความมั่งคั่ง และอิทธิพลระหว่างครอบครัวหรือกลุ่มเพียงไม่กี่ราย และในการสืบสวนอย่างไม่เหมาะสมหรือการปกปิดเรื่องอื้อฉาวของการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยสื่อที่เป็นข่าว นอกจากนั้นในบางประเทศปรากฏว่ามีการยอมรับทางสังคมว่าสินบนที่ถูกเรียกร้องเป็นความถูกต้องของเจ้าหน้าที่รัฐบาล
สาเหตุทางการเมือง
สาเหตุทางการเมืองของการฉ้อราษฎร์บังหลวงสัมพันธ์ทั้งกับกระบวนการ เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และพฤติกรรมของข้าราชการที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาในสำนักงานครั้งหนึ่ง การเล่นการเมืองโดยสมบูรณ์ของมาตรการต่อต้านการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่กำลังดำเนินการโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจ เช่น อัยการและข้าราชการประจำ ได้แสดงให้เห็นว่าองค์กรเหล่านี้ขาดประสิทธิภาพ
ผลกระทบของสาเหตุทั้งด้านการเมืองและด้านสถาบันถูกทำให้เลวร้ายยิ่งขึ้นโดยการรู้กันระหว่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ของรัฐบาลที่มุ่งเป้าไปที่การเข้าร่วมกับกิจกรรมการเบียดบัง หรือการคุ้มครองสมาชิกของพวกเขาจากการฟ้องร้องทางอาญาดังกล่าว
สาเหตุทางสถาบัน
สาเหตุทางสถาบัน ได้แก่ โครงสร้างและการปฏิบัติงานของข้าราชการ อย่างน้อยที่สุดผู้ถูกสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ ได้กล่าวถึงปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงในหมู่ข้าราชการชั้นผู้น้อย บางครั้งรายได้ของข้าราชการต่ำกว่าระดับความยากจน จึงนำพวกเขาบางคนไปสู่การเบียดบัง เพื่อความอยู่รอด ถ้าเงินเดือนต่ำเป็นสาเหตุสำคัญของการฉ้อราษฎร์บังหลวงของข้าราชการแล้ว ปัญหาควรลดลงเมื่อข้าราชการได้ไต่ระดับสูงขึ้นไปตามอาชีพ-แต่จากนั้นก็ชี้ว่านี่ไม่ใช่ประเด็น
สาเหตุทางสถาบันประการหนึ่ง การละเลยของระบบยุติธรรมทั้งระบบ รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย การฟ้องร้อง และการพิพากษา และการขาดซึ่งการบูรณาการระหว่างกลุ่มทั้งหลายในระบบยุติธรรม ทำให้มีความยุ่งยากมากขึ้นในการสอบสวนและฟ้องร้องความผิดทางอาญาของการฉ้อราษฎร์บังหลวง
กฎหมาย กฎระเบียบ และการปฏิบัติด้านการบริหารที่อ่อนแอ และไม่มีอยู่เป็นผู้ร้ายที่สำคัญในความไร้ความสามารถ ที่จะตรวจหา และป้องกันปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ตัวอย่างประการหนึ่งที่ถูกรายงานไว้คือนโยบายและขั้นตอนที่ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุของการควบคุมที่ไม่สมบูรณ์เหนือการจัดซื้อของราชการ และการจัดจ้างด้วยวงเงินจำนวนสูง
https://www.gotoknow.org/posts/326374
|