การแบ่งรูปแบบของการคอร์รัปชั่นออกเป็นรูปแบบต่างๆ เช่น
|
1. แบ่งตามขนาด คือ
1.1 การคอรัปชั่นขนาดเล็ก(Petty Corruption)
1.2 การคอรัปชั่นขนาดใหญ่(Grand Corruption)
2. การแบ่งคอรัปชั่นออกเป็นระดับดังนี้
2.1 คอรัปชั่นเชิงบุคคล(Incidental)
2.2 คอรัปชั่นเชิงสถาบัน(Institutional)
2.3 คอรัปชั่นเชิงระบบ(Systematic)
3. แบ่งตามความอดทนของชุมชน(Communitys Tolerance) ที่มีต่อการ ทุจริต ได้แก่
3.1 ทุจริตสีดํา(Black Corruption) หมายถึงทุกภาคส่วนในสังคมมองว่า
การกระทํ าหนึ่งสมควรถูกตําหนิ และสมควรถูกลงโทษ
3.2 ทุจริตสีเทา(Gray Corruption) หมายถึง การกระทํ าหนึ่งที่สังคมมี
ความเห็นคลุมเครือ
3.3 ทุจริตสีขาว(White Corruption) หมายถึง การกระทํ าหนึ่งสังคมคิด
ว่าเป็นการกระทําที่สามารถยอมรับได้
4. แบ่งตามตามมิติดังนี้
4.1 คอรัปชั่นในการบริหารราชการแผ่นดิน(Administrative
Corruption) เป็นการใช้อิทธิพลที่เกินกว่าอํานาจของกฎหมาย เพื่อไปกําหนดนโยบายและทําให้
เกิดผล เช่น การทําโครงการจัดซื้อจัดจ้างให้แก่สมาชิกพรรคพวกของตน การซื้อขายตําแหน่งโดยไม่
คํานึงถึงหลักการเรื่องความสามารถและคุณธรรมอาศัยเครือญาติหรือพรรคพวกตนเองเป็นที่ตั้ง
|
4.2 คอรัปชั่นทางเศรษฐกิจ(Economic Corruption) เป็นการแสวงหา
` กําไรส่วนเกินหรือในทางเศรษฐศาสตร์ จะเรียกว่าค่าเช่า(Rents) เช่น การควบคุมการค้าและการให้
สัมปทานผูกขาดแก่สมาชิกพรรคพวก การจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่สูงเกินจริงและการแปรรูป
รัฐวิสาหกิจเพื่อให้กลายมาเป็นทรัพย์สินของตนเอง
4.3 คอรัปชั่นทางการเมือง(Political Corruption) เป็นการใช้อํานาจ
ของรัฐบาลโดยขาดคุณธรรมหรืออย่างผิดกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ตนเอง หรือผลประโยชน์
ทางการ เมืองและผลประโยชน์ที่ได้นั้นไม่จําเป็นจะต้องเป็นวัตถุเงินทองเสมอไป เช่น การซื้อเสียงใน
การเลือกตั้ง การหลอกลวงด้วยการหาเสียงเกินจริง
ที่มา:http://tdri.or.th/tdri-insight/corruption-problem-in-thailand/
|