Ran khaa ya
     
 

ฝาชี
    การสานฝาชีมีมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยเริ่มจากการนำวัสดุใกล้ตัว เช่น ต้นหวายหรือไม้ไผ่มาดัดแปลงเป็นภาชนะครอบอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นผงและแมลงต่างๆเป็นการทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษยในด้านการเก็บรักษาอาหารให้สะอาดไม่มีสิ่งสกปรก ในปัจจุบันสามารถพบการใช้ฝาชีในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากเพราะเป็นวัสดุจากธรรมชาติและหาซื้อได้ง่ายไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียหาย การใช้ฝาชจากหวายหรือไม้ไผ่ยังเป็นการช่วยอุดหนุนรายได้ให้คนในตำบลและคนที่ประกอบอาชีพอีกด้วย

      ฝาชีมีประโยชน์ดังนี้

1. ช่วยปกป้องสิ่งสกปรกที่มาทำร้ายอาหาร

2.ช่วยให้อาหารไม่มีสิ่งอันตรายมาลงปนเปื้อน

3. ช่วยคลุมอาหารหลาย ๆ อย่าง

     การสานฝาชีมีมานานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยเริ่มจากการนำวัสดุใกล้ตัว เช่น ต้นหวาย
หรือไม้ไผ่มาดัดแปลงเป็นภาชนะครอบอาหารเพื่อป้องกันฝุ่นผง และแมลงต่างๆเป็นการทำ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษยในด้านการเก็บรักษาอาหารให้สะอาดไม่มีสิ่ง
สกปรก     
      ในปัจจุบันสามารถพบการใช้ฝาชีในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมากเพราะเป็น
วัสดุจากธรรมชาติและหาซื้อได้ง่าย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมให้เสียหาย การใช้ฝาชจากหวายหรือไม้ไผ่ยังเป็นการช่วยอุดหนุนรายได้ให้คนในตำบลและคนที่ประกอบอาชีพอกด้วย
         
           ขั้นตอนการทำ

    การวางก้น

1. แบ่งก้านมะพร้าวออกเป็น 7 กำ  กำละ 12  ก้าน ใช้ยางวงรัด จนครบ 7 กำ
2. การวางก้น  วางกำที่ 1 ลง  วางกำที่ 2 ทับบนกำที่ 1   วางกำที่ 3 ทับบนกำที่ 2  วางกำที่ 4 ทับบนกำที่ 3  วางกำที่ 5 ทับบนกำที่ 4 ให้ปลายก้านเจอกับโคนก้านกำที่ 1  วางกำที่ 6 ทับบนกำที่ 5 ให้ปลายก้านลอดใต้โคนกำที่ 1 ไปเจอกับโคนก้านกำที่ 2   วางกำที่ 7 ทับบนกำที่ 6 ให้ปลายก้านลอดใต้โคนกำที่ 1 และกำที่ 2 ไปเจอกับโคนก้านกำที่ 3  ขยับแต่ละกำให้ชิดกัน จับเป็นคู่ จะออกมาในลักษณะคล้ายรูปดาว  7 แฉก

    การขัดก้น
1.  แกะยางวงที่มัดโคนออก (แกะทีละกำ) จับปลายก้านสอดเข้ากับโคน  โดยสอดสลับโคน 2 ก้าน ปลาย 2 ก้าน สอดไปจนหมดทั้งแฉก แล้วนำเถาย่านางมาขัดไว้  ทำแบบเดิมจนครบทั้ง 7 กำ
2.  ดึงเถาย่านางที่ขัดเพื่อให้ก้นกระจาดเล็กลงได้ขนาดวงก้นตามที่ต้องการ ดึงปลายก้านแต่ละแฉกเข้ามาให้เหลือโคนก้านเกินเส้นขัดก้นกระจาดออกไปเพียงเล็กน้อย ตัดให้สวยงาม

     การสานตัว

     การสานรอบที่ 1
1.  จับก้านมะพร้าวหลักที่ 1  2 ก้าน  สานข่ม 4 ก้าน  ยก 4 ก้าน ไป 6 ครั้ง  ครั้งที่ 7 ข่ม 2 ก้าน โดยสานวนไปทางซ้าย (ดังรูป) หลักที่ 2 – 29 ใช้วิธีสานเหมือนกับหลักที่ 1
2.  หลักที่ 30 สานข่ม 4 ก้าน  ยก 4 ก้าน ไป 6 ครั้ง  ครั้งที่ 7 ข่ม 2 ก้าน โดยการสานครั้งที่ 7 จะข่มหลักที่ 1  หลักที่  31 – 42  สานเหมือนหลักที่ 30 การสานข่มครั้งที่ 7 จะข่มหลักถัดไปจนครบ
3.  เมื่อสานหมดทุกหลักแล้ว ดึงให้แน่น จัดให้กลมและสวยงาม

    การสานเก็บปลายขอบ
1.  ตัดส่วนปลายก้านออกบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการสาน สานโดยการจับปลายก้านมะพร้าหลักที่ 1  2 ก้าน สานข่ม 8 ก้าน ยก 8 ก้าน  (ดังรูป)  หลักที่ 2 – 34 สานเหมือนหลักที่ 1
2. หลักที่ 35 สานข่ม 8  ก้าน ยก 8 ก้าน ลงรวมหลักที่ 1   หลักที่ 36-42 สานเหมือนหลักที่ 35 โดยสานข่มหลักถัดไป จนครบทุกหลัก ดึงให้กลมและแน่น
3. สานเก็บขอบปลายรอบ 2  โดยการจับปลายก้านมะพร้าหลักที่ 1  2 ก้าน สานข่ม 2 ก้าน ยก 2 ก้าน  (ดังรูป)  หลักที่ 2 – 34 สานเหมือนหลักที่ 1 ดึงให้กลมและแน่น  ตัดปลายก้านมะพร้าวที่เหลือ สอดซ่อนปลาย ตัดส่วนที่เหลือทิ้ง

    การเสียบ

    การสานรอบที่ 2
 นำก้าน 2 ก้าน เสียบขึ้นด้านล่างระหว่างหลักที่ 1 กับหลักที่ 2 โดยนับ 2 แถวแล้วเสียบขึ้น นับ 3 แถวแล้วเสียบลง จัดเส้นให้ตรง เสียบระหว่างหลักไป เรื่อย ๆ จนครบทุกหลัก

    การสาน
 สานเหมือนรอบที่ 1 ทุกขั้นตอนเมื่อสานหมดทุกหลักแล้ว ดึงให้แน่น จัดให้กลมและสวยงาม

    การสานเก็บปลายขอบ
1.  ตัดส่วนปลายก้านออกบางส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการสาน สานโดยการจับปลายก้านมะพร้าวหลักที่ 1  2 ก้าน สานยก 4 ก้าน  (ดังรูป) หลักที่ 2 – 40  สานเหมือนหลักที่ 1
2. หลักที่ 41 สานยกหลักที่ 42 กับหลักที่ 1  หลักที่ 42 สานยกหลักที่ 1 กับหลักที่ 2  ดึงให้กลมและแน่น ตัดปลายก้านมะพร้าวที่เหลือทิ้ง 

    การเสียบ

    การสานรอบที่ 3

สานเหมือนกับรอบที่ 2

   การสาน
1.  จับก้านมะพร้าวหลักที่ 1  2 ก้าน  สานข่ม 4 ก้าน  ยก 4 ก้าน ไป 4 ครั้ง  ครั้งที่ 5 ข่ม 2 ก้าน โดยสานวนไปทางซ้าย (ดังรูป) หลักที่ 2 – 29 ใช้วิธีสานเหมือนกับหลักที่ 1
2.  หลักที่ 30 สานข่ม 4 ก้าน  ยก 4 ก้าน ไป 4 ครั้ง  ครั้งที่ 5 ข่ม 2 ก้าน โดยการสานครั้งที่ 5 จะข่มหลักที่ 1   หลักที่  31 – 42  สานเหมือนหลักที่ 30 การสานข่มครั้งที่ 5 จะข่มหลักถัดไปจนครบ
3.  เมื่อสานหมดทุกหลักแล้ว ดึงให้แน่น จัดให้กลมและสวยงาม(ดังรูป)

    การสานเก็บปลายขอบ
สานเหมือนรอบที่ 2

    การสานรอบที่ 4 – 7 
สานเหมือนรอบที่ 3 ทุกขั้นตอน สานเสร็จตัดตกแต่ง จัดรูปทรงให้สวยงาม ใส่ที่จับฝาชี และทาน้ำมันเคลือบเงา (ดังรูป)

ที่มา : http://basketthailand.tarad.com/product.detail_840171_th_4557189

 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2557
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน