|
|
สุ่ม
ความเป็นมา สุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่ประชาชนนิยมกีฬาชนไก่ จึงมีการเลี้ยงไก่ชนเป็นจำนวน มากและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงดูไก่ชนอย่างใกล้ชิดคือสุ่มไก่ ซึ่งสุ่มไก่นี้สานได้ง่าย มีราคาถูกและใช้ประโยชน์ได้ดีการสานสุ่มไก่นี้ศึกษาที่บ้านนาย ศีละ จะกะ เลขที่ 31 หมู่ที่ 1 ต.สันผักหวาน อ. หางดง จ.เชียงใหม่ซึ่งสามีนางสงวนฯ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) สานสุ่มไก่เป็น คนแรกในหมู่บ้านเมื่อประมาณ 30 ปีมาแล้วปัจจุบันลูก ๆ ศีละ ฯ ยังคงสานสุ่มไก่ เป็นอาชีพเสริมจากการทำรับจ้างทั้วไป ซึ่งมีฝีมือดีสานสุ่มไก่ได้รวดเร็ว สำหรับบ้านนี้ทำกัน 1 คน ไผ่ตะเกียบ คุณสมบัติมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี ไผ่ตะเกียบที่นำมาจักสานสุ่มไก่มี อายุประมาณ 5 ปีแหล่งที่มาเก็บหาภายในหมู่บ้านซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่รับซื้อ จากหมู่บ้านอื่น ราคาลำละ 4 บาทแต่ละลำมีความยาวประมาณ 8 ม. เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่ เสร็จแล้ว 2. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน 3. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป วิธีการจักสาน 1. การจักตอกไผ่ 1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก 1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ 1.3 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่) ความกว้างของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน 1.31.7 ซม. ตอกยาว 0.8 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.62.0 ซม.
ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ตอกยืนใช้สานสุ่มไก่ได้
1. ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ
1.4 ส่วนที่เป็นข้อไผ่นำมาเหลาเป็นตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่ม เพื่อไม่ให้สุ่ม ขยับเขยื่อนในขณะสานขึ้นรูป
2. การสานสุ่มไก่
2.1 เริ่มจากสานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
2.2 ใช้ค้อนตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดหัวสุ่มบนพื้นดินลานกว้าง เพื่อยึดสุ่มไก่ ไว้ใน การสานขึ้นรูป
2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาวแต่ละเส้นเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม
2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 5 เส้น
2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวตีนสุ่มไก่ทิ้งไป
ที่มา : https://tawatchaiaek.wordpress.com/ |
|
|
|