บ้านของฉัน
บ้านเลขที่ 1203/56 ม.10
ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
ชุมชน : เขาโกรกพม่า
บ้านของฉันมีลักษณะ
บ้านปูน 2 ชั้น บ้านฉัน...มีสีเหมือนสลิม มีทั้งสีเขียว สีชมพู สีฟ้า
บ้านฉันมี 3 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ มีพื้นกว้างที่ใช้สำหรับนอนเล่น นั่งเล่น
ฉันอยู่ชั้น 2 อยู่ชั้น 2 คนเดียว พ่อกับแม่นอนห้องข้างล่าง
สมาชิกในครอบครัว มี 4 คน คือ พ่อ แม่ พี่ชาย ฉัน แต่พี่มีครอบครัวแล้วอยู่ต่างจังหวัด มีสุนัขที่เลี้ยงอยู่ที่บ้าน 2 ตัว
ในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เจอปัญหาที่หนักหนาเพียงใด ก็สามารถผ่านหลุดอุปสรรต่างๆที่เข้ามาได้
พ่อและแม่ รักและใส่ใจฉันเป็นอย่างดีในทุกๆอย่างและทุกๆเรื่อง ฉันรักพ่อและแม่มาก พ่อและแม่อบรมสั่งสอนฉันเป็นอย่างดี
ควรตักเตือนทุกๆอย่าง บางครั้งฉันก็ไม่เชื่อฟัง แต่ฉันก็นำทุกคำที่พ่อและแม่รู้มาปรับใช้
แหล่งที่อยู่ใกล้ๆบ้าน
วัดเทพนิมิตรโฆสิตาราม อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
|
วัด เป็นสถานที่ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งปกติมีพระอุโบสถ พระวิหาร พระเจดีย์ รวมทั้งมีพระภิกษุสงฆ์อยู่อาศัย
คำว่า “วัด” เป็นคำเรียกชื่อศาสนสถานแบบคำไทย โดยที่มาของคำว่า “วัด” นี้ ยังไม่มีข้อยุติ ด้วยบางคนอธิบายว่า
มาจากคำว่า “วตวา” ในภาษาบาลี แปลว่า
เป็นที่สนทนาธรรม บ้างก็ว่ามาจาก“วัตร” อันหมายถึงกิจปฏิบัติหรือหน้าที่ของพระภิกษุที่พึงกระทำ
หรือแปลอีกอย่างว่าการจำศีล ซึ่งวัด(วัตร)
ตามนัยยะนี้จึงน่าจะหมายถึงสถานที่ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่จำศีลภาวนา
หรือสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ปฏิบัติภาระกิจที่พึงกระทำนั่นเอง แต่ก็มีบางคนสันนิษฐานว่ามาจากคำว่า “วัดวา” อันหมายถึงการกำหนด
ขอบเขตของดินแดนที่สร้างเป็นศาสนสถาน เพราะวัดกับวามีความหมายอย่างเดียวกัน คือการสอบขนาด หรือปริมาณของสิ่งต่างๆ
เช่น ความยาว ความกว้าง เป็นต้น วัดในนัยยะอย่างหลังนี้จึงหมายถึง พื้นที่
แต่เดิมครั้งพุทธกาลนั้น มีการใช้คำว่า “อาราม” เป็นคำเรียกชื่อ ศาสนสถานในทางพุทธศาสนาที่ใช้เรียกเสนาสนะที่มีผู้ศรัทธาถวายพระพุทธองค์ใน
ระยะแรกๆ เช่น “เชตวนาราม” หรือชื่อเต็มว่า “เชตวเนอนาถบิณฑิกสสอาราเม” ซึ่งมีความหมายว่า “สวนของอนาถบิณฑที่ป่าเชต” หรือ “เวฬุวนาราม”
หรือ “บุปผาราม” เป็นต้น โดย “อาราเม” หรือ “อาราม” ในคำอ่านของไทยแปลว่าสวน นอกจากนี้ในเวลาต่อมายังมีคำที่ใช้เรียกอีกอย่างว่า “วิหาร”
อย่างไรก็ตามก็ยังมีคำที่ให้ความหมายว่าวัดอยู่อีกชื่อหนึ่ง คือ “อาวาส” ดังชื่อเรียกสมภารผู้ครองวัดว่า
“เจ้าอาวาส” ซึ่งแปลว่าผู้เป็นใหญ่ในวัด หรือชื่อเรียกวัด เช่น เทพศิรินทราวาส( เทพ+ ศิรินทรา+ อาวาส )
โดยปกติคำว่าอาวาสไม่เป็นที่นิยมใช้กันในความหมายว่าวัด ทั้งนี้เพราะนิยมนำไปใช้กับความหมายที่แคบกว่าคำว่าอาราม
โดยมักให้ความหมายในเชิงที่เป็นตัวเรือนที่อยู่อาศัยมากกว่า
อาวาสจึงเสมือนเป็นที่อยู่ส่วนย่อยภายในอารามที่หมายถึงพื้นที่ที่เป็นศาสนา สถานทั้งเขต
เทคโนภาคเหนือ ก่อตั้งโดย อาจารย์นัทธี พุคยาภรณ์ เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2521 โดยใช้ชื่อ" โรงเรียนช่างกลไทยสุริยะนครสวรรค์ " ตั้งอยู่เลขที่ 919 หมู่ 10 ถนนพหลโยธิน ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์
พ.ศ. 2524 : เปลี่ยนชื่อเป็น " โรงเรียนเทคนิคไทยสุริยะนครสวรรค์" เพิ่มสาขาพณิชยการ ระดับปวช.ขยายการศึกษาระดับปวส.สาขาวิชาช่างยนต์,ช่างไฟฟ้กำลัง
พ.ศ. 2528 : ก่อสร้างอัฒจันทร์ปูนขนาด 14 ขั้นบันได
พ.ศ. 2529 : เปลี่ยนชื่อเป็น " โรงเรียนเทคโนโลยีไทยสุริยะนครสวรรค์ "
พ.ศ. 2536 : เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2536 ยกระดับมาตรฐานสู่
ระดับภาค เป็นเทคโนโลยีภาคเหนือ ตามใบอนุญาตโดยใช้อักษรย่อ ท.ภ.น.
พ.ศ. 2538 : ขยายการศึกษาระดับ ปวส.สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์
|
พ.ศ. 2539 : ก่อสร้างอาคารเรียน 2 ขนาด 5 ชั้น
จำนวน 20 ห้องเรียน 1 หลัง
พ.ศ. 2542 : เพิ่มสาขาวิชา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระดับ ปวส.
พ.ศ. 2543 : สร้างอาคารประชุม N-TECH ความจุ 150 คน
พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัย
พ.ศ. 2545 : เปิดหลักสูตร ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2546 : ก่อสร้างห้องปฏิบัติการธุรกิจพยาบาล
พ.ศ. 2547 : จัดทำศูนย์ออกกำลังกายอุปกรณ์มาตรฐานสมัยใหม่
พ.ศ. 2548 : ก่อสร้างศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพจริง
พ.ศ. 2549 :ก่อสร้างโรงจอดรถจักรยานยนต์หลังคา METALSHEET
ขนาด 13x20 เมตร
พ.ศ. 2550 :ก่อสร้างห้องปฎิบัติการศูนย์การศึกษาด้านยานยนต์ เชฟโรเลต
(ประเทศไทย) ขนาด 8x20 เมตร
พ.ศ. 2551 :สร้างศูนย์การศึกษาโทคโนโลยียานยนต์ CHEVROLET
พศ. 2552 :ปรับปรุงโรงอาหาร สู่ ครัวเอ็นเทค (N-TECH Kitchen)
จัดโครงสร้างแผนภูมิการบังคับบันชา เป็นระบบดูแลสายงาน
รองผู้จัดการผู้จัดการฝ่ายวางแผนพัฒนา ดูแลภาควิชาเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง
รองผู้จัดการผู้จัดการฝ่ายบริหาร ดูแลภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์
รองผู้อำนวยการวิชาการ ดูแลภาควิชาเทคนิกส์พื้นฐาน และภาควิชาสามัญสัมพันธ์
รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษา ดูแลภาควิชาบริการธุรกิจฯ
รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาชีพ ดูแลภาควิชาเทคโนโลยียานยนต์
ครู ทุกคนได้รับใบประกอบวิชาชีพครู ปรับปรุงอาคารเรียน ทาสี ปรับปรุงภูมิทัศน์สวนพักผ่อน จัดห้องคาราโอเกาะสีขาว ให้นักศึกษาได้จริงในช่วงเวลาพักกลางวัน
พศ. 2553 :เปิดศูนย์การศึกษาเทคโนโลยียานยนต์ CHEVROLET อย่างเป็นทางการ
ได้รับรางวัลนักศึกษารางวัลพระราชทาน ผลการประเมินจาก คณะกรรมการ
เขตตรวจราชการที่ 2 ณ วิทยาลัยเทคนิกส์พิษนุโลก จังหวัดพิษนุโลก คือ นางสาวรุ่งรพี ศรีสวัสดิ์ สาขาการบันชี
สถาบันได้พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษามาโดยตลอด เพื่อผลิตคนรุ่นใหม่ (Newgeneration)ให้มีคุณลักษนะสามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาสถาบันสู่ความเป็นเลิศ
( Excellent School)
พศ. 2554 :วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เปลี่ยนชื่อเป็น " วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ "
|