Ran khaa ya
   
 
ส้มตำ
ต้มยำกุ้ง
ต้มข่าไก่
แกงเขียวหวานไก่
น้ำพริกกะปิ
ลาบหมู
แบบทดสอบหลังเรียน
เว็บไซต์ครูผู้สอน
คณะผู้จัดทำ
 

 อาหารพื้นบ้าน

      อาหารพื้นบ้านไทยเป็นอาหารที่ได้สมดุลทางโภชนาการ ผสมผสานลงตัวระหว่างชนิดและปริมาณของอาหาร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้าวเป็นอาหารหลัก อาจจะเป็นข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวแล้วแต่ท้องถิ่น และมักเป็นข้าวซ้อมมือซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินที่สำคัญ การปรุงอาหารจะเป็นการต้ม แกง ยำ ตำ มีการปรุงที่เรียบง่าย ไม่พิถีพิถัน ใช้เวลาไม่มาก ใช้น้ำมันในการปรุงอาหารน้อย มีการใช้เนื้อสัตว์ไม่มาก แหล่งโปรตีนได้จากปลา ไก่ ไข่ หมู และสัตว์อื่นๆ บางชนิดในท้องถิ่น เครื่องปรุงล้วนเป็นสมุนไพรที่ได้จากธรรมชาติ และที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นบ้านนานาชนิดที่หาได้ นำมาปรุงเป็นอาหาร หรือนำมาเป็นเครื่องจิ้มกับอาหารประเภทน้ำพริก หรือหลนต่างๆ ส่วนความพึงพอใจในรสชาติ หรือความอร่อยของอาหารไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว จะเห็นได้ว่า "อาหารพื้นบ้านของไทยเป็นอาหารที่มีไขมันต่ำแต่มีเส้นใยอาหารสูง มีคุณค่าทางโภชนาการทั้ง วิตามิน เกลือแร่ เอนไซม์กรดไขมัน มีความปลอดภัยจากสารเคมีและยังให้สรรพคุณทางสมุนไพรที่วิเศษ ซึ่งหาได้ยากจากอาหารประเภทอื่นๆ ในขณะเดียวกันยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของคนในครอบครัวที่ได้มีโอกาสพูดคุยกันระหว่างมื้ออาหาร ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์และพัฒนาให้อาหารไทยอยู่คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยตลอดไป
     อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกิริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร เช่น ข้าวซอย คืออาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็นอาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่ มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลาน้ำตาล ปัจจุบันอาจเพิ่มอาหารทะเลหรือเต้าหู้เป็นส่วนประกอบ อาหารจานนี้มักไม่ค่อยมีจำหน่ายในร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะพบบ่อยเฉพาะทางภาคเหนือของไทย
     อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านจะหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวัน เท่านั้น เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ และหากวันใดจับปลาได้มาก จะแปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้งไว้บริโภคได้นาน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญ อาหารอีสานจะเน้นไปทางรสชาติที่เผ็ดร้อน
     อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิแนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง เป็นต้น - เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง
     อาหารพื้นบ้านภาคใต้ ประชาชนในจังหวัดภาคใต้เป็นที่รู้จักกันดีว่าใจคอหนักแน่น พูดเร็ว เดินเร็ว และทำเร็ว อาหารปักษ์ใต้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนลักษณะของพวกเขาได้อย่างชัดเจนในเรื่อง ของรสชาติอาหารที่เผ็ดจัด เค็มจัด ตลอดจนเปรี้ยวจัด อาหารปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่อลือชามากๆ คือ แกงไตปลา แกงเหลือง น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำบูดู น้ำยาปักษ์ใต้ ตลอดจนอาหารปักษ์ใต้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพวกมาลายู และอินเดีย นอกจากนั้นอาหารปักษ์ใต้ในทุกมื้อยังประกอบไปด้วยผักสดที่สำคัญโดยเฉพาะพืช ตระกูลถั่วจำพวก สะตอ หรือลูกเนียงที่จะเป็นต้องติดไว้ในแทบทุกมื้อ


ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2258/
%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B
8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%
E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน