Ran khaa ya
     
 

ที่มา:เนื้อหามาจากแผ่นแผ่นโบรชัวร์ของทางวัดหัวดง

ความเป็นมา
                                    ความเป็นมาของชุมชนตำบลหัวดง อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ 
 ตำบลหัวดง เดิมขึ้นอยู่กับอำเภอบรรพตพิสัย ต่อมาในปีพ.ศ.2513 ได้แยกออกจากอำเภอบรรพตพิสัยมาขึ้นอยู่กับอำเภอเก้าเลี้ยว

 เหตุที่ชื่อว่าตำบลหัวดงนั้น เนื่องจากสมัยก่อนมีแม่น้ำไหลผ่าน ริมแม่น้ำมีต้นมะพร้าวจำนวนมากเป็นดง ชาวบ้านผ่านไปผ่านมาจึงเรียกว่า  “ตำบลหัวดง” มาจนถึงปัจจุบัน ตำบลหัวดงตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเก้าเลี้ยว มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 12 หมู่บ้าน
 ชุมชนตำบลหัวดงเป็นหมู่บ้านที่มีความสงบ อาศัยอยู่เหมือนพี่ๆน้อง  ให้เกียตริซึ่งกันและกัน เ อื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอยู่กันอย่างมีความสามัคคีมีอะไรก็ช่วยกันอย่างเต็มที่ ปรองดองกัน  มีการประกอบอาชีพหลายอย่าง เช่น การทำนาทำไร่  การค้าขาย การรับจ้างทั่วไป ข้าราชการ เป็นต้น อาชีพทำนาทำไร่ เป็นส่วนใหญ่ และ ยังมีอาชีพอื่นๆอีก ภายในหมู่บ้านมีวัดที่เก่าแก่  ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่5 ที่รัชกาลที่5ได้มาหยุดพักกลางวันที่วัดนี้ คือ วัดหัวดงใต้ และ มีหลวงพ่อที่อยู่ในวัด คือ หลวงพ่อโต  เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีการมากราบไหว้มากมายซึ่งประดิษฐาน ณ วิหารหลวงพ่อโต วัดหัวดงใต้ หมู่ 3 ต.หัวดง อ.เก้าเลี้ยว  จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อแก่เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย มีพระอยู่ที่ทำด้วยทอง อยู่ด้านในและโบกปูนทับ เกศาเป็นตุ่ม  มียอดเศียรแบบเปลวเพลิง ศิลปะสุโขทัย ประดิษฐานประจำวิหาร หันหันหลังให้แม่น้ำปิง

เขตพื้นที่ของตำบลหัวดง อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์


ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเก้าเลี้ยว,ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหนองเต่า อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรค์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเจริญผล,ตำบลบางตาหงาย,ตำบลหูกวาง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน