การเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5
ที่มา : เนื้อหามาจากแผ่นแผ่นโบรชัวร์ของทางวัดหัวดง
พระพุทธเจ้าหลวง ปิยมหาราช
|
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชาติไทยอย่างล้นเหลือด้วยพระปรีชาสามารถอันยากยิ่งที่จะมีผู้ใดเสมอเหมือนพระราชกรรียกิจในแผ่นดินสยามของพระองค์นั้นเป็นความทรงจำที่ไมมีวันจางไปจจากความนึกคิดของปวงชนชาวไทยพระองค์ทรงสอดส่องดูแลทุกข์สุขของไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความห่วงใยอยู่ตลอดเวลา
ตลอดชีวิตของพระองค์ซึ่งครองราชย์มานานถึง 42 ปีพระองค์ทรงสร้างสิ่งที่เจริญก้าวหน้าแก่ชาติบ้านเมืองให้รุ่งเรืองขึ้นอย่างมาก การเสด็จประพาสต้น เป็นสิ่งที่ทำให้ทรงได้ทอดพระเนตรทุกสิ่งทุกอย่างชัดเจน การประพาสต้นเพื่อสอดส่องทุกข์สุขของราษฎรนี้มิได้มีหมายกำหนดการซึ่งบางคราวทรงปลอมแปลงพระองค์เป็นสามัญชนเข้าไปปะปนกับราฎร เพื่อจะได้ประจักษ์ในความเป็นไปเป้นอยู่ของราษฎรของพระองค์อย่างใกล้ชิด ทำให้ได้พบความจริง และทรงนำไปแก้ไขเพื่อประโยชน์สุขแห่งราษฎร
การเสด็จประพาสต้น ในรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชอัธยาศัยในการเสด็จประพาสตั้งแต่เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเสด็จประพาสแทบทุกปี เสด็จไปตามหัวเมืองน้องใหญ่ในพระราชอาเขตบ้าง เสด็จไปถึงต่างประเทศบ้าง
ในการเด็จประพาสหัวเมืองใหญ่น้อยในเขตนั้นบางคราวก็เสด็จไปเพื่อทรงตรวจจัดการปกครอง จัดการรับเสด็จเป็นราชการ บางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ ไม่โปรดให้จัดการรับเสด็จเป็นทางการที่เรียกว่า เสด็จประพาสต้น คือไม่ต้องมีท้องตราสั่งหัวเมือง ให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ สุดแต่พอพระราชหฤทัย ที่จะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางทีก็ทรงเรือเล็กโดยสารรถไฟไป มิให้ใครรู้จักพระองค์
เหตุที่เรียกว่าการประพาสต้นนั้นเกิดแต่เมื่อเสด็จในคราวนี้ เวลาจะประพาสมิให้ใครรู้ว่าเสด็จไป ทรงเรือมาคเก๋ง 4 แจว ที่แม่น้ำอ้อมแขวงจังหวัดราชบุรี ลำ 1 โปรดให้เจ้าหมื่นเสมอใจราชเป็นผู้คุมเครื่องครัวไปในเรือนั้น เจ้าหมื่นเสมอใจราชชื่อ อ้น จึงทรงดำรัสเรือลำนั้นว่า เรือตาอ้น เรียกเร็วๆเสียงเป้น เรือต้น จึงเรียกการเสด็จประพาสโดยไมให้ผู่ใดทราบว่าเสด็จไปไหนเช่นนี้ว่า ประพาสต้น คำว่า ต้นยังมีให้ใช้อนุโลมต่อมา จนถึงเครื่องแต่งพระองค์ ในเวลาทรงเครื่องอย่างคนสามัญไปประพาสมิให้ผู้ใดเห็นแปลกประหลาดผิดกับคนสามัญดำรัสเรียกว่า ทรงเครื่องตัน ต่อมาโปรดให้ปลูกเรือนฝากระดานอย่างไทยเช่นพลเรือนอยู่กันเป็นสามัญขึ้นในพระราชวังดุสิต ก็พระราชทานนามเรือนนั้นว่า เรือนตัน
พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้น วัดหัวดงใต้
ตามพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 5 ทรงบันทึกไว้คราวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรผ่านเมืองนครสวรรค์ กล่าวถึงการเสด็จมาถึงบ้านเก้าเลี้ยวและบ้านหัวดง ดังนี้
|
วันที่ 16 สิงหาคม ร.ศ.125(พ.ศ.2449)
สองโมงเช้า ออกเรือมาถึง วัดบ้านเกาะ ลงเรือประพาสไปขึ้นวัดหมายจะถ่ายรูปกระบวน แต่เวลาอยู่ข้างกระชั้น คนคอยเฝ้ามากนัก ตั้งกล้องไม่ใคร่จะได้เกะกะไปหมด
. พากันลงเรือประพาสนั้นขึ้นมาจนถึงที่พักร้อนพากันขึ้นเรือเหลืองออกต่อไป ทำครัวมากลางทาง พอสำเร็จถึงบ้านเก้าเลี้ยวแวะกินเข้ากินข้าวดุ๊ก ได้รับหน้าที่เป็นพระราชา แต่ทำท่าไม่สนิท เพราะแกกลัวอัปปลิชทักทายปราศรัยก็ต้องสอนกันมาก ข้อที่เกิดความนั้นเห็นจะเป็นด้วยเมียตากำนันเป็นผู้รับฉันทานุมัติของพวกจีนแคะ เจ้าของไร่อ้อยหลายเถ้าแก่ด้วยกันมาเชิญเสด็จไปที่เรือนเขาทำไว้ถวายตกลงยอมไป เรากลับเป็นพระราชาตามเดิมมีผู้คนมากมี
พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์จีน และม้าล่อเป็นอันมากอมีธูปเทียนมาเชิญให้ขึ้นบกได้ขึ้นไปบนเรือน ตั้งโต๊ะเครื่องบูชา มีโต๊ะเก้าอี้หุ้มแพร เตียงนอน มุ้งแพรอย่างจีนทั้งนั้น อุทิศถวายไว้ให้ที่สำหรับพักข้าหลวงไปมาต่อไป จีนเม่งกุ่ย เป็นหัวหน้า เมื่อได้อนุโมทนาเสร็จแล้ว ลงเรือโมเตอร์แล่นต่อมาอีก มาเกยที่ตื้น 2-3 คราว เลยทรายเข้าอุดท่อน้ำ ต้องมาหยุดแก้อยู่ช้านานจนกระบวนมาถึง จึงต้องลงเรือเหลืองมาขึ้นที่บ้านท่าวัว ถ่ายรูปกระบวนเรือแล้วเดินต่อมาทางบก มาเจอพวกเดินบกด้วยกันหลายคน เลยเป็นกองโตเดินแจกเสมาระมามีคนมาประชุมอยู่แน่นในลานวัดต้องไปยืนให้กราบตีนตามความต้องการเป็นอันมากแถบนั้นแตงไทยอร่อยกินทั้งวานและวันนี้
|