Ran khaa ya
     
  ชนิดของจิ้งหรีด

ชนิดจิ้งหรีด จิ้งหรีดที่พบในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย มี 4 ชนิด ดังนี้
1. จิ้งโกร่ง (Brachtrupes Portentosus Lichtenstein)
จิ้งหรีดชนิดนี้ บางพื้นที่เรียก จิโปม, จิ้งกุ่ง, จินาย เป็นต้น เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวทุกส่วนมีสีน้ำตาล ยกเว้นขาคู่หลังส่วนบนมีสีเหลือง และส่วนท้องมีสีครีม โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 1 ซม. ยายประมาณ 3.5-4.0 ซม. มีหนวดยาว ขุดรูตามดินร่วนปนทราย ภายในรูที่ความลึก 5-10 ซม. มีรูแยก 1 รู เพื่อหลบภัย บริเวณรอยแยกของรูเป็นโพรงใหญ่สำหรับเก็บอาหาร รูหลักยาวประมาณ 30-50 ซม. ลึกประมาณ 20-30 ซม. กลางวันจะปิดปากรู และอาศัยอยู่ภายใน กลางคืนออกหากิน และส่งเสียงร้องดัง

2.  จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus Bimaculatus Degeeer)
เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง บางพื้นที่เรียก จิโหลน ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัว และปีกมีสีดำหรือน้ำตาลปนดำทั้งตัว โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.6-0.7 ซม. ยาวประมาณ 2.8-3.0 ซม. มีหนวดยาว ตัวผู้ส่วนหัว และอกมีสีดำ ปีกคู่หน้าย่น ปีกมีสีน้ำตาลออกเหลืองเล็กน้อย โดยเฉพาะโคนปีกที่มีสีเหลืองแกม ส่วนตัวเมียส่วนหัว และอกมีสีดำ ปีกคู่หน้าเรียบ ปีกมีสีดำสนิท โคนปีกมีแต้มสีเหลือง 2 จุด ปลายปีคู่หลังทั้งตัวผู้ตัวเมียยื่นยาวมากกว่าลำตัว ปลายท้องมีแพนหางยาว 1 คู่ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย   

3. จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus Testaceus Walker)
บางพื้นที่เรียก จิ้งหรีดนิล หรือ จินาย หรือ จิ้งหรีดพม่า เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง โตเต็มวัยลำตัวกว้างประมาณ 0.5-0.6 ซม. ยาวประมาณ 2.5-2.80 ซม. ลำตัวทุกส่วนมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณหัวเหนือขอบตามีแถบสีน้ำตาลเข้มรูปตัว V ตัวผู้มีสีลำตัวทุกส่วนเข้มกว่าตัวเมีย ด้านล่างท้องมีสีครีม เคลื่อนที่ได้ว่องไว ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย  

4. จิ้งหรีดทองลาย (Modicogryllus Confirmata Walker)
จิ้งหรีดทองลาย หรือ นิยมเรียกว่า แมงสดิ้ง ตัวผู้ และตัวเมียมีอายุเต็มวัย 38-60 วัน เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ประกอบด้วยส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง ลำตัวทุกส่วนมีสีเหลืองแกมน้ำตาล มีลักษณะสีเป็นลาย ลำตัวกว้างประมาณ 0.4-0.55 ซม. ยาวประมาณ 2.0-2.5 ซม. ตัวเมียลำตัวมีสีน้ำตาลปนเหลือง ปีกคู่หน้าเรียบมีสีน้ำตาลเป็นลายเส้นชัดเจน ปีกคลุมปลายท้องไม่มิด มีอวัยวะวางไข่คล้ายเข็มสีน้ำตาล  ยาวประมาณ 1.2 เมตร ยาวกว่าแพนหางเล็กน้อย ตัวผู้มีสีลำตัวเข้มกว่าตัวเมีย และมีลายแต้มที่หัว ปีกคู่หน้าย่น ปลายท้องมีแพนหาง จิ้งหรีดชนิดนี้ ชอบอาศัยตามกองไม้ กองใบไม้ ร่องดิน ออกหากินในเวลากลางคืน และไม่ขุดรูอาศัย   


 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน