ประวัติความเป็นมาของไทยทรงดำ
|
ชาวไทยทรงดำหรือคนทั่วไปเรียกว่า ลาวโซ่ง มีถิ่นกำเนิด ณ ดินแดนสิบสองจุไท ดินแดนแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ประเทศเวียดนามและประเทศลาว ชาวไทยทรงดำเรียกตัวเองว่า ผู้ไต หรือผู้ไตดำ ชนชาตินี้มีประวัติความเป็นมานานนับพันปี และเจริญรุ่งเรืองด้วยศิลปะ วัฒนธรรมและจารีตประเพณี มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรและปฏิทินขึ้นใช้เองในชนเผ่า วัฒนธรรมการแต่งกายมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หญิงและชายจะสวมใส่เสื้อผ้าด้วยสีดำเป็นสีพื้นและมีการปักลวดลายด้วยเส้นไหม สีฉูดฉาดลงบนผืนผ้าพอดูงามตาคติความเชื่อของชาวไทยทรงดำ จะนับถือและให้ความสำคัญกับผีและเทวดา เพราะเชื่อว่าธรรมชาติที่อยู่รอบตัวเช่นแม่น้ำ ลำคลอง ป่าไม้ ภูเขา จะมีดวงวิญญาณต่างๆสิงสถิตอยู่ และจะให้ความสำคัญสูงสุดกับ พระยาแถน ผู้เป็นใหญ่ในจักรวาลและดวงวิญญาณของพ่อแม่ และบรรพชนของตระกูล ในวิถีชีวิตของไทยทรงดำ จึงมีพิธีกราบไหว้บวงสรวงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ที่เอื้ออำนวยประโยชน์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตรตลอดจนพิธีกรรมที่เกี่ยว ข้องกับดวงวิญญาณต่างๆ ของบรรพชน ซึ่งส่งผลให้สภาพสังคมโดยทั่วไปของชาวไทยทรงดำ มีกรอบของจารีตประเพณีและวัฒนธรรมช่วยจัดระเบียบสังคม จึงทำให้ชาวไทยทรงดำในดินแดนสิบสองจุไทอยู่ร่วมกันและดำรงความเป็นกลุ่ม ชาติพันธุ์มาเนิ่นนานนับพันปี ในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเวียดนามและลาว พวกเขาได้เรียกชนเผ่าที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำดำว่า ไตดำ ที่เรียกว่าไตดำไม่ใช่ว่าพวกเขาอาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มน้ำดำ แต่เพราะว่ากลุ่มชนเผ่าไทดังกล่าว นิยมสวมเสื้อผ้าสีดำอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งย้อมด้วยต้นห้อมหรือต้นคราม การที่เรียกว่า"ลาวโซ่ง" จริงๆแล้วชนชาติพันธุ์ไม่ได้เป็นลาว เหตุที่เรียกเช่นนี้เป็นเพราะว่ามีการอพยพผ่านดินแดนลาวลงมายังสยาม การเรียกว่า "ชาวโซ่ง" หรือ "ชาวไททรงดำ" จะถูกต้องกว่า เหมือนที่มีการเรียกคนกลุ่มนี้ในจังหวัดเพชรบุรีว่า "โซ่ง" หรือ "ไทยทรงดำ"
ชาวไทดำ หรือ ชาวลาวโซ่ง เป็นกลุ่มชาวไทกลุ่มหนึ่ง ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเขตสิบสองจุไทเดิม หรือบริเวณลุ่มแม่น้ำดำ และแม่น้ำแดงในเวียดนามเหนือ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ดั้งเดิมของชาวไทยมี ชาวไทดำ ชาวไทแดง และชาวไทขาว
ในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองเวียดนาม และลาว พวกเขาได้เรียกชนเผ่าที่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำดำว่า ไทดำ ที่เรียกว่าไทดำ เพราะว่ากลุ่มชนเผ่าไทดังกล่าว นิยมสวมเสื้อผ้าสีดำอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งย้อมด้วยต้นหอมหรือต้นคราม
ประวัติการอพยพของชาวไทดำสู่ประเทศไทย
ในปี พ.ศ. 2438 และ ปี พ.ศ. 2439 ได้เกิดการอพยพครั้งใหญ่ของชาวผู้ไทขึ้น สาเหตุก็มาจากศึกสงครามแย่งชิงอำนาจกัน ระหว่างบรรดาหัวหน้าของไทดำกลุ่มต่างๆ ในแคว้นสิบสองจุไท พวกเขาจึงได้อพยพเข้ามาในประเทศลาว และ ในภาคอีสานของประเทศไทย
ในประเทศลาวนั้น ชาวไทดำส่วนมากได้ตั้งถิ่นฐานใน แขวงหลวงน้ำทา แขวงบ่อแก้ว แขวงอุดมชัย พงสาลี หัวพัน ซำเหนือ และแขวงต่างๆที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว ส่วนในประเทศไทยนั้น ก็อพยพเข้ามาด้วยเช่นกัน โดยส่วนมากได้ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดในภาคอีสานตอนบน เช่น อำเภอเรณูนคร อำเภอธาตุพนม และ อำเมืองเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ในช่วงระหว่าง ปี พ.ศ. 2496 จนถึงปี พ.ศ. 2497 ได้เกิดสงครามในเมืองเดียนเบียนฟู ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองของแคว้นสิบสองจุไทเดิม ชาวผู้ไทจึงได้อพยพหลบหนีการเกณฑ์ทหารของฝรั่งเศส เข้ามาในประเทศลาวและไทยอีกครั้ง
|
ชาวไทดำในประเทศไทย
ในประเทศไทย คนไทยเรียกเรียกชาวไทดำว่า ลาวโซ่ง โซ่งนั้นน่าจะมาจากคำว่า ซ่วง หรือ ซ่ง ซึ่งเป็นภาษาไทดำ แปลว่ากางเกง เพราะว่าชาวไทดำเหล่านี้สวมกางเกงสีดำ
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้นพระองค์ทรงไปตีกรุงเวียงจันทน์ ในปี พ.ศ. 2322 พระองค์ทรงได้กวาดต้อนชาวไทดำที่อพยพมาจากสิบสองจุไท ส่งไปตั้งถิ่นฐานที่เมืองเพชรบุรี และต่อมาในปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและในปี พ.ศ. 2381 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ก็ทรงยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และก็ได้กวาดต้อนชาวไทดำมาอีก ซึ่งในปัจจุบันตั้งถิ่นฐานกระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัด เช่น ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร พิษณุโลก กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันเรียกคนเหล่านี้ว่า ชาวไทยโซ่ง
ส่วนตัว พวกเรา สนใจการอพยพย้ายถิ่นของชาวไทดำมาก น่าจะเป็นกลุ่มไทที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมไกลที่สุดคือมาจากตอนเหนือของเวียตนาม เเละเมือ่ได้มาตั้งหลักเเหล่งในภาคกลางของไทย ก็มีผู้เฒ่าคิดถึงถิ่นฐานเดิมคือเมืองแถง บางส่วนเลยพากันชักชวนลูกหลานเเอบอพยพขึ้นเหนือเพื่อที่จะกลับเมืองแถง ดังจะเห็นอาศัยอยู่ที่ภาคกลางตอนบนเพื่อไปสู่เมืองแถง เเต่พอถึงรุ่นลูกความพยายามมุ่งมั่นจะกลับถิ่นฐานเดิมก็ลดลงไป ทำให้ตกค้างอยู่ตามภาคต่างๆของไทยไม่ว่าภาคใต้ เเละกลางตอนบน
|