Ran khaa ya
   
 
  การแต่งกาย

ที่มา : http://student.nu.ac.th/angsumarin/Dress%20code.html

 

ในสมัยก่อนไทยโซ่งจะมีลักษณะการ แต่งกายเป็นแบบฉบับของตนเอง แต่ในปัจจุบันจะพบการแต่งกายแบบไทยโซ่งในหมู่คนสูงอายุเท่านั้น แต่ในโอกาสพิเศษ เช่น เวลาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา คนที่อายุต่ำลงมาอาจแต่งกายแบบไทยโซ่ง

 

            เครื่องนุ่งห่มที่เป็นแบบฉบับของ ผู้ชายไทยโซ่ง คือ กางเกงขาสั้นปลายแคบเรียวยาว ปิดเข่า นุ่งขมวดปมที่เอว เรียกว่า “ส้วงขาเต้น” หรือ “ส้วงก้อม” แปลว่า กางเกงขาสั้น ตัวเสื้อ เรียกว่า “เสื้อซอน” เป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ปลายแขนปล่อยกว้างขนาดข้อมือของผู้ใส่ ผ่าหน้าตลอด ติดกระดุมเงินยอดแหลมมีลวดลายเรียงกันถี่ประมาณ 10-19 เม็ด ตัวสั้นแค่เอว ตัวเสื้อเย็บเข้ารูปทรงกระสอบ หน้าอกผายเล็กน้อย คอตั้ง ตัวเสื้อด้านข้างตอนปลายผ่าทั้ง 2 ข้าง แล้วใช้เศษผ้า 2-3 ชิ้นตัดขนาดรอยผ่าเย็บติดกับรอยผ่า

           ส่วนฝ่ายหญิงในชีวิตประจำวันสมัย ก่อนนุ่งผ้าซิ่นพื้นดำ ประกอบด้วยผ้า 3 ชิ้น ชิ้นที่1 เป็นต้นซิ่นส่วนตรงเอว มีสีดำ ไม่มีลาย กว้างประมาณ 12 นิ้วฟุตเศษ ผ้าชิ้นนี้จะเย็บติดกับผ้าชิ้นที่ 2 ที่เป็นตัวผืน ซิ่นสีดำสลับลายทางสีขาวเหมือนลายเปลือกแตงโมที่มีริ้วเป็นลายสีขาวหรือ เขียวอ่อน ส่วนที่ 3 กว้างประมาณ 1 นิ้วฟุตเศษ มีลวดลายริ้วสีขาว 2-3 ริ้ว เย็บติดกับผ้าชิ้นที่ 2 เป็นตีนซิ่น ถ้าสามีตายต้องเลาะเอาตีนซิ่นนี้ออกเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้สามี วิธีการนุ่งซิ่น คือ เอามุมผ้าทางซ้ายและทางขวาพับทบกันตรงกลาง แล้วพับลงคาดด้วยเข็มขัดให้สูงกว่าส่วนหลัง เพื่อสะดวกในการก้าวเดินเวลาทำงาน ผ้าซิ่นลายแตงโมในชีวิตประจำวันจะใส่กับ “เสื้อน้อย หรือ เสื้อแขนจิ๊ด” ซึ่งเป็นเสื้อแขนกุดตัวเสื้อสั้นผ่ากระดุมด้านหน้า
นอกจากเสื้อน้อยแล้ว ในสมัยก่อนนิยมคาด “ผ้าเปี่ยว” ซึ่งเป็นผ้าคาดอก ปักลวดลายไว้ที่ชายทั้ง 2 ข้าง หญิงที่แต่งงานแล้วจะใช้ผ้าเปี่ยวสีดำ หรือสีครามแก่ ส่วนหญิงสาวจะใช้ผ้าเปี่ยวย้อมสีสันต่างๆ นอกจากนี้มีผ้าผืนเล็กๆยาวๆใช้คล้องคอพาดไหล่ทับผ้าเปี่ยวอีกทีหนึ่ง ในเวลาลงข่วงหรือในโอกาสที่มีการละเล่นต่างๆหญิงไทยโซ่งนิยมใช้ผ้าเปี่ยวคาด อก ในปัจจุบันจะเห็นแม่เฒ่าไทยโซ่งพาดผ้าเปี่ยวสีครามไว้บนไหล่สำหรับใช้สารพัด ประโยชน์

นอกจากเสื้อผ้าดังกล่าวแล้ว

           ในโอกาสที่ออกนอกบ้าน เช่นเดินทางไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง หญิงไทยโซ่งจะนิยมใส่ “เสื้อก้อมซึ่งเป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวเสื้อเย็บเข้าตัว คอตั้งผ่าอกตลอด ติดกระดุมเงินถี่ราว 10 เม็ดหรือมากกว่านั้นในโอกาสพิเศษ เช่น ประกอยพิธีเสน พิธีแต่งงาน หรือในการละเล่น เช่น เล่นคอน ไทยโซ่งจะแต่งชุดใหญ่ เรียกว่า “เสื้อฮี” ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายย้อมคราม มี 2 ด้าน ใช้ได้ทั้งด้านในและด้านนอก เสื้อฮีของชายยาวคลุมสะโพก คอกลมติดคอ กุ๊นรอบคอด้วยผ้าไหมแดง แล้วเดินเส้นทับด้วยไหมสีอื่นตามแต่จะเห็นสวยงาม ตรงคอเสื้อด้านข้างติดกระดุมแบบคล้อง 1 เม็ดผ่าตลอด โดยเริ่มผ่าตรงกระดุมด้านซ้ายแล้วผ่ามาตลอด ด้านหน้าจะป้ายทบมาด้านข้างและติดกระดุมอีก 1 เม็ดที่เอวด้านข้างซึ่งเป็นด้านเดียวกับที่ติดกระดุมคอ แขนเสื้อเป็นแขนกระบอกยาวปลายแคบ จากรักแร้ถึงชายเสื้อจะปักตกแต่งด้วยเศษผ้าไหมสี และด้ายไหมสีต่างๆ พร้อมทั้งติดกระจกชิ้นเล็กๆตามลวดลาย ด้านข้างผ่าตั้งแต่ปลายเสื้อจนเกือบถึงเอว แล้วปักตกแต่งอย่างสวยงาม เสื้อฮีด้านนี้จะใช้ในงานมงคลต่างๆ ส่วนอีกด้านหนึ่งเมื่อกลับออกมาจะเป็นด้านที่มีสีสันหลากสี โดยตกแต่งผ้าสีต่างๆไว้ตามชายเสื้อและขอบแขน ใช้ในโอกาสอวมงคล เช่น งานพิธีศพ จะใส่กลับกันไม่ได้ถือว่าเป็นการกระทำผิดแบบแผน เสื้อฮีนี้จะใส่กับกางเกงขายาวสีดำขาแคบ เรียกว่า “ส้วงฮี”

          เสื้อฮีของฝ่ายหญิงก็เช่นเดียว กัน มี 2 ด้านใส่ได้ทั้ง 2 ด้าน และใช้ในโอกาสเช่นเดียวกัน แต่ตัวเสื้อใหญ่และยาวกว่ามาก คอแหลมลึก ใช้สวมหัว ไม่ผ่าหน้า แขนเสื้อเย็บแขนในตัว แขนแคบเป็นแขนกระบอก ด้านที่ใช้ในงานมงคลใช้เศษผ้าสีต่างๆมาตกแต่งที่ปลายแขน และด้านหน้าเป็นช่วงยาวเรียวจากไหล่ทั้ง 2 ข้างลงมาถึงหน้าอก ส่วนอีกด้านที่ใช้ในงานอวมงคล เช่น ใช้คลุมโลงศพ ปักตกแต่งรอบคอตามรอยตะเข็บเสื้อทุกแห่งตามชายเสื้อด้วยเศษผ้าไหมสีต่างๆ ลวดลายแตกต่างกันไป เสื้อฮีของฝ่ายหญิงใช้ใส่กับผ้าซิ่นลายแตงโม ในพิธีเสนเรือนหญิงไทยโซ่งที่เป็นสะใภ้ของเรือนที่ทำพิธีนั้นจะใช้เสื้อฮี คาดทับเสื้อตัวใน

          เสื้อผ้าที่ไทยโซ่งใช้สวมใส่ใน สมัยก่อนจะปั่นด้ายนำมาทอ ย้อมคราม และตัดเย็บทุกอย่างด้วยตัวเอง ทุกคนมีเสื้อฮีไว้ใช้ในโอกาสพิเศษต่างๆ แต่ในปัจจุบันนี้จะหาดูเสื้อฮีได้ยากขึ้นไปทุกที
          เครื่องประดับของไทยโซ่งใช้โลหะที่ทำด้วย เงิน ทอง นาค เช่น กำไรมือ ต่างหู เป็นต้น

 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน