Ran khaa ya
   
 
  ภาษาไทยทรงดำ

ที่มา : http://student.nu.ac.th/

 

ภาษาของไทยทรงดำ
คนไทยดำมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง ภาษาไทดำจัดอยู่ในตระกูลภาษาไท (Tai Language family) กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาลาว สำเนียงพูดของคนไทดำแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปบ้างแต่ก็ไม่มาก รูปอักษรไทดำมีความสวยงาม ลักษณะคล้ายอักษรลาวและอักษรไทยโบราณบางตัว

ลักษณะของเสียง
พยัญชนะ

สระ

ภาษาพูดและภาษาเขียนไทยทรงดำ
         

 ชาวไทยทรงดำมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเองนับตั้งแต่ชาวไทยทรงดำอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ไทยทรงดำไม่ได้ไม่ได้จัดระบบการศึกษาขึ้นในชุมชนของตนเอง ไม่มีโรงเรียนสอนภาษาไทยทรงดำโดยตรง การสอนภาษาเป็นเพียงการถ่ายทอดในครอบครัวที่กระทำกันเองเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะสอนแต่เพียงภาษาพูดแก่ทารกที่เกิดใหม่จนสามารถพูดได้ แต่ก็ไม่ได้เน้นทางด้านการอ่าน การเขียน ลักษณะเช่นนี้ ทำให้สมัยต่อๆมา จำนวนไทยทรงดำที่สามารถอ่านเขียนหนังสือไทยทรงดำได้มีจำนวนน้อยลงทุกที เนื่องจากการถ่ายทอดภายในครอบครัวไม่มีประสิทธิภาพที่ดีพอ เพราะไทยทรงดำส่วนมากจะดิ้นรน เพื่อการดำรงชีวิต ใช้เวลาในการประกอบอาชีพมากกว่าที่จะสอนหนังสืออย่างจริงจัง ปัจจุบันจึงมีชาวไทยทรงดำที่มีอายุตั้งแต่50 ปีขึ้นไป บางคนเท่านั้นที่ยังพอสามารถ อ่าน เขียนภาษาไทยทรงดำได้ ประกอบกับตำราที่เป็นภาษาไทยทรงดำมีให้อ่านน้อยมาก ส่วนมากจะมีเป็นตำนานเก่าๆ ตำรายาแผนโบราณ และบทขับกล่อมตอบโต้กันระหว่างหญิงกับชาย เมื่อมีงานประจำปีหรือเทศกาลเดือนห้า หน้าสงกรานต์ ไทยทรงดำที่ได้รับการศึกษาสูง ๆหลายคนพูดภาษาไทยทรงดำเกือบไม่ได้เลย ภาษาไทยทรงดำนี้มีสำเนียงคล้าย กับภาษาลาวเวียงจันทร์ ไทยอีสาน ไทยเหนือภาษาไทยทรงดำมีลักษณะไม่แตกต่างไปจากภาษาไทยกลาง กล่าวคือมีลักษณะเป็นคำโดดพยางค์เดียว เช่น คำว่า อ้าย เอม แลง งาย ช่วง เสื้อ เสื่อ สาด เป็นต้น ถ้าจะมีคำหลายพยางค์ ก็เอาคำโดดมา ผสมกัน เช่นซ่วงฮี-กางเกงขายาว ลุก-ลูกคนแรก กกแนน-บุญแต่ปางก่อนผ้าฮ้ายผ้าขี้ริ้ว เฮื่อนฮ้าย เรือนไม่ดี (ไม่เป็นมงคล)และไม่มีเสียงควบกล้ำเช่น คำว่า ปลา ไทยทรงดำออกเสียงว่า ปา หรือโตปา, พร้อมออกเสียงว่า ป้อม ,กลางคืน ออกเสียงว่า กางกืน เป็นต้นคำบางคำไม่อาจจะเขียนวรรณยุกต์ในภาษาไทยกำกับการออกเสียงให้ตรงกับการออกเสียงในภาษาไทย ทรงดำได้ เช่น คำว่า “ เจือ “แปลว่า ชวน ประโยคว่า “เจือกันมา” แปลว่าชวน กันมา ประโยคว่า “ เจือเถาวัลย์ เจือกล้วย “ แปลว่า เชื้อสาย ประโยคว่า“ เจื๊อผู้ท้าวแปลว่า เชื่อ ประโยคว่า “เหลือเจือ “ แปลว่า เหลือเชื่อ หรืออย่างคำว่า “ ปี” วรรณยุกต์สามัญออกเสียงสำเนียงต่างกันจะมีความหมายได้หลายความหมายความดังนี้ หมายถึง ปี (เวลา 12 เดือน) แปลว่า พี่ แปลว่า อ้วน (เน้นเสียงหนัก) แปลว่า ปลีกล้วย (เสียงต่ำลง) หรืออย่างบางคำ เช่น คำว่า ลูกสะใภ้ ไม่อาจจะเขียนคำออกเสียงในภาษาไทย ให้ตรงได้ จะเขียนได้อย่างใกล้เคียงก็เพียง ลุเป้า เท่านั้น

 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน