Ran khaa ya
     
 

ผลิตภัณฑ์ของชุมชน

                การทอผ้านั้นต้องอาศัยฝีมือและความรู้ความชำนาญของผู้ทอเป็นอย่างมาก เป็นงานศิลปะที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก เพราะแต่ละคนที่ทำแต่ละขั้นตอน จะมีความแตกต่างกัน
เส้นไหมที่สาวได้แต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละระยะของฝักไหมให้ความหนาของเส้นไม่เท่ากัน สีไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นแล้วความสามารถในการทอ การสอดกระสวย
ความแรงในการตีกระทบหรือการฟัดทำให้ได้สีเข้มอ่อนต่างกัน การเรียงเส้นไหมให้ตรงลายจะแสดงถึงความคมชัดและความชำนาญของผู้ทอแต่ละคน อากาศ อุณหภูมิ
หรือแม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของผู้ทอ สิ่งเหล่านี้มีผลกับความสวยงามของผ้าผืนนั้น ๆ จึงทำให้ผ้าทอมือแต่ละผืนที่ทอ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและมีเพียงผืนเดียวในโลกเท่านั้น
ชาวบ้านสมพรรัตน์ยังใช้ กี่พื้นบ้าน เป็นเครื่องมือสำหรับการทอผ้าไหม เพราะในระหว่างทอจะต้องมีการเรียงจับลายของเส้นพุ่งอยู่ตลอดเวลา ทองสุข วันแสน
ได้กล่าวถึงอุปกรณ์สำหรับทอผ้าไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.โครงหูกหรือโครงกี่ ประกอบด้วยเสา 4 ต้น มีรางหูกหรือรางกี่ 4 ด้าน ทั้งด้านบนและด้านล่าง
เสาแต่ละด้ายมีไม้ยึดติดกันเป็นแบบดั้งเดิมที่ยินมใช้กันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
2.ฟืม หรือ ฟันหวี มีฟันเป็นซี่ คล้ายหวี ใช้สำหรับสอดเส้นไหมยืนเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน
และใช้กระทบไหมเส้นพุ่งให้สานขัดกับไหมเส้นยืนที่อัดแน่นเป็นเนื้อผ้า ฟันฟืมอาจจะทำด้วยไม้
หรือเหล็ก หรือสแตนเลสก็ได้ มีหลายขนาด ขึ้นกับว่าผู้ใช้จะต้องการผ้ากว้างขนาดเท่าใด เช่น ฟืมอาจมี 35-50 หลบ
                หรือมากกว่านี้ แต่ละหลบมี 40 ช่องฟัน แต่ละช่องจะสอดเส้นไหมยืน 2 เส้น ดังนั้นการทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ
อาจจะใช้เส้นไหมยืนประมาณ 2800-4000 เส้น ชาวบ้านสมพรรัตน์จะนิยมใช้ฟืม 50 หรือ 60
3.เขาหูก หรือตะกอ คือ เชือกทำด้วยด้ายไนลอนที่ร้อยคล้องไหมยืน เพื่อแบ่งเส้นไหมเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการเมื่อยกเขาหูกหรือตะกอขึ้น
ก็จะดึงเส้นไหมยืนเปิดเป็นช่อง สามารถพุ่งกระสวยเข้าไปให้เส้นไหมพุ่งสานขัดกับเส้นไหมยืนได้
เวลาสอดเส้นไหมยืนต้องสอดสลับกันไปเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่ง
และมีเชือกผูกเขาหูกแขวนไว้กับโครงกี่ด้านบนสามารถเลื่อนไปมาได้ ส่วนด้านล่างผูกเชือกติดกับคานเหยียบ
เมื่อต้องการดึงแยกเส้นไหมให้เป็นช่องจะใช้เท้าเหยียบที่คานเหยียบทำให้เขาหูกเลื่อนขึ้น-ลง เกิดเป็นช่องสำหรับใส่เส้นไหมพุ่ง
หากต้องการทอผ้าเป็นลวดลายที่งดงาม จะต้องใช้ตะกอและคานเหยียบจำนวนหลายอัน วิธีการเก็บตะกอหรือเก็บเขาจะแตกต่างกันไปตามลักษณะ
ของผ้าและลวดลายของผ้าที่จะทำ การทอผ้าของชาวบ้านสมพรรัตน์ส่วนใหญ่จะใช้แบบ 2 ตะกอเขาหูกแบบ 4 ตะกอ

4.กระสวย ใช้บรรจุหลอดเส้นไหมพุ่ง มีหลายแบบ อาจจะทำจากไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติกให้มีน้ำหนักพอประมาณจะได้ไม่พลิกเวลาพุ่งกระสวย มีความลื่นและไม่มีเสี้ยน
ขนาดกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เจาะรูตรงกลาง ทำปลายทั้งสองด้านให้งอนเล็กน้อย เพื่อให้ลอดผ่านเส้นไหมยืนได้ง่ายขึ้นกระสวย
5.ไม้หน้าหูก คือ ไม้ที่อยู่ส่วนหน้าสุดของหูก สำหรับผูกขึงลูกตุ้งทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ
6.ไม้รางหูก คือ ไม้ที่พาดขวางโครงหูก ส่วนบนทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำมี 3-4 ท่อน ใช้สำหรับผูกแขวนลูกตุ้ง ไม้ข้างเขา และฟืม
7.กระดานม้วนหูก เป็นไม้กระดานที่ใช้สำหรับม้วนปลายด้านหนึ่งของเส้นไหมยืน ซึ่งม้วนเก็บและจัดเส้นยืนให้เป็นระเบียบ
นอกจากนี้ยังช่วยให้เส้นไหมในหูกตึง โดยที่ปลายอีกด้านหนึงผูกติดหรือพันไว้กับม้วนผ้า
8.ลูกตุ้ง คือไม้ที่สอดค้างกระดานม้วนหูก มี 2 ลูก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนหัวของลูกตุ้งเจ้าสำหรับแขวนไว้กับ
รางหูกและต้องผูกยึดติดลูกตุ้งไว้กับไม้หน้าหูก เพื่อไม่ให้ไม้ลูกตุ้งแกว่งไปมา
9.ไม้ค้างเขาหรือไม้ค้างตะกอ เป็นไม้ 2 อันสำหรับแขวนเขาหูกหรือตะกอ ส่วนปลายทั้งสองด้าน
จะเจาะรูผูกเชือกแขวนไว้กับไม้ที่พาดขวางรางหูก

 


ที่มา  http://www.danchang.go.th/condition.php:

 
 
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์

   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน