Ran khaa ya
   
 
 

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

     ฟักทอง (Cucurbita Moschata Cecne.) มีถิ่นกำเนิดอยู่เขตร้อนของอเมริกากลาง ฟักทองแบ่งออกเป็นสองตระกูล คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) จะมีผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และอีกตระกูล คือ ตระกูลสควอช (Squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น ฟักทองหรือที่เรียกว่า น้ำเต้า ฟักเขียว มะฟักแก้ว หมักอื้อจัดเป็นพืชประเภทผัก ผลของฟักทองเป็นลักษณะผลเดี่ยว ก้านผลเป็นห้าเหลี่ยม เปลือกนอกของผลจะแข็ง ผลมีรูปร่างที่แตกต่างกัน ขนาดและรสชาติจะขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์ โดยทั่วไปของผลฟักทองจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-40 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 3 – 4 กิโลกรัม ยอดอ่อนของฟักทองมีลักษณะเถาเลื้อย เมล็ดฟักทองจะมีอยู่จำนวนมากบริเวณระหว่างเนื้อฟูๆ ตรงกลางผลแต่ไม่ติดกับเนื้อ แต่ละเมล็ดจะมีขอบเล็ก ปรากฏอยู่โดยรอบของเมล็ด
ปัจจุบันมีฟักทองอยู่มากมายหลายชนิด หลายพันธุ์ พันธุ์ที่เกษตรนิยมปลูกรวมทั้งพันธุ์ที่ได้มาจากการผสมและนำเข้าจากต่างประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ
     1. พันธุ์เลื้อย ซึ่งมีลักษณะลำต้นเลื้อยแตกแขนงมากมาย ดอกจะออกตามข้อและให้ผลแขนงละ 1-2 ผล ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นฟักทอง เช่น ฟักทองลายตอก 225 ผลขนาดปานกลางเนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน อายุการเก็บเกี่ยว 60 - 75 วัน ฟักทองลูกผสมจินดาเป็นฟักทองผิวคางคก สีเขียวเข้ม ผลหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม ผลกลมแป้น เนื้อสีเหลืองอมเขียวอายุการเก็บเกี่ยว 60 - 65 วัน พันธุ์พื้นเมืองเป็นฟักทองผิวขรุขระเนื้อสีเหลืองส้ม ผลหนักประมาณ 2-4 กิโลกรัม เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมภายในท้องถิ่น อายุการเก็บเกี่ยว 60 - 70 วัน
     2. พันธุ์ซึ่งมีลักษณะลำต้นเป็นพุ่มขนาดใหญ่ มีใบขนาดใหญ่ ก้านใบกลมกลวงหักเปราะง่าย บางชนิดมีหนามบริเวณที่ใบ ดอกจะออกตามมุมก้านใบ เช่น ฟักทองคางคกเล็กบึกกาฬ 021 ผลมีขนาดเล็กเก็บเกี่ยวเร็วเนื้อมีสีเหลืองส้มเป็นมัน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก ฟักทอง

     ฟักทอง ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีการปลูกผัก ชอบดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี และมีการระบายน้ำดี มีค่าความเป็นกรด-ด่างของดินระหว่าง 5.5-6.8 (ชอบดินเป็นกรดเล็กน้อย) ชอบอากาศแห้ง ดินไม่ชื้นแฉะและน้ำไม่ขัง ฤดูปลูก ส่วนมากจะเริ่มปลูกในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม หรือหลังฤดูทำนา แต่สามารถได้ดีในปลายฤดูฝน และต้นฤดูหนาวคือช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมและปลูกได้ดีที่สุดคือช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธุ์
การเตรียมดินปลูก ฟักทอง
การปลูกฟักทองคล้ายๆ กับแตงโม ควรขุดไถดินลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร เพราะเป็นพืชที่มีระบบรากลึก ควรตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและวัชพืชได้บ้าง ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดิน แล้วจึงย่อยพรวนดินให้ร่วนซุยเก็บเศษวัชพืชต่างๆ ออกจากแปลงให้หมด

การปลูกฟักทอง
     การปลูกฟักทอง พันธุ์ที่มีลำต้นเลื้อยและให้ผลใหญ่ ใช้เนื้อที่ปลูกมาก โดยใช้ระยะปลูก 3?3 เมตร พันธุ์ที่มีทรงต้น พุ่ม ให้ผลขนาดเล็ก ใช้ระยะปลูก 75?150 เซนติเมตร (พันธุ์เบา) ใช้วิธีหยอดหลุมปลูก หลุมละ 3-5 เมล็ด ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วกลบหลุม ถ้ามีฟางข้าวแห้ง ให้นำมาคลุมแปลงปลูก เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ผิวหน้าดิน และเมล็ดพันธุ์จะงอกเป็นต้นกล้า ตั้งตัวได้เร็ว การหยอดหลุมปลูกในแปลง จะได้ต้นกล้าที่แข็งแรง และโตเร็วกว่า การย้ายกล้าจากถุงมาปลูก หากหลุมใดไม่งอก แม้จะนำมาปลูกซ่อม ก็จะเจริญไม่ทัน แต่หากว่างไว้ จะกินเนื้อที่ว่างมาก ควรปลูกซ่อม แต่จะเก็บผลได้ช้ามาก

การดูแลรักษาฟักทอง

     เมื่อต้นกล้างอกเจริญจนมีใบจริง 4 ใบ ช่วงนี้ให้ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตหรือปุ๋ยผัก (21-0-0) ละลายน้ำแล้วใช้รดต้นฟักทอง ต้องรดน้ำทุกวัน เมื่อฟักทองเริ่มออกดอกใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 (หรือสูตรใกล้เคียงกัน เช่น 13-13-27 หรือ 14-14-21) โรยรอบๆ ต้นแล้วรดน้ำตามและใส่ปุ๋ยอีกครั้งเมื่อฟักทองเริ่มติดผลอ่อน พันธุ์ฟักทองที่เป็นพันธุ์หนักให้ผลโต อายุเก็บเกี่ยวยาวนาน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ฟักทองพันธุ์หนักควรใส่มากกว่าพันธุ์เบา การรดน้ำ ต้องรดน้ำทุกวัน จนคะเนว่าอีก 15 วัน จะเก็บผลแก่ได้ จึงเลิกรดน้ำ การกำจัดวัชพืช ควรทำในระยะแรก เพื่อให้ดินร่วนซุยและโปร่ง พอต้นฟักทองมีใบปกคลุมดินแล้วก็ไม่ต้องกำจัดวัชพืช

การเก็บเกี่ยวผลผลิตฟักทอง

      ฟักทองเป็นพืชผักที่แมลงไม่ค่อยชอบทำลายเมื่อผลแก่เก็บเกี่ยวไว้เลยโดยสังเกตสีเปลือก สีจะกลมกลืนเป็นสีเดียวกัน ไม่แตกต่างกันมากนักดูนวลขึ้นเต็มทั้งผล คือมีนวลขึ้นตั้งแต่ขั้วไปจนตลอด ก้นผล แสดงว่าแก่จัดการเก็บควรเหลือขั้วติดไว้ด้วยสักพอประมาณเพื่อช่วยให้เก็บรักษาได้นานขึ้นสามารถเก็บผลไว้รอขาย หรือบริโภคได้นานๆ โดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น

การให้ผลผลิตฟักทอง

     จะทยอยเก็บผลได้ 5-6 ครั้ง เก็บได้เรื่อยๆ ถ้าปลูกเดือนกุมภาพันธ์จะเก็บผลได้ในเดือนมิถุนายน (พันธุ์หนัก) ทยอยเก็บไปได้เรื่อยๆ จนเดือนกรกฎาคม ต้นหนึ่งถึง 5-7 ผล 1 ไร่ ให้ผลผลิตประมาณ 1-1.5 ตัน ถ้าดูแลรักษาใส่ปุ๋ยดีจะให้ถึง 2 ตัน (น้ำหนักสด) ถ้าพันธุ์เบา ปลูกได้ 50 - 60 วัน ก็เก็บผลได้
สารควบคุมการเจริญเติบโต (plant growth regulators) (สัมพันธ์,2526)
     1. ออกซิน (auxin) ออกซินที่พบในธรรมชาติเป็นสารที่พืชสังเคราะห์จากส่วนเนื้อเยื้อใบอ่อน ดอก ผล ปลายราก ออกซินจะช่วยในการยืดตัวของเซลล์ ส่งเสริมหรือชักนำการแบ่งเซลล์ การเกิดรากและแคลลัส โดยออกซินที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- กลุ่มออกซินที่มาจากธรรมชาติ ได้แก่ IAA (indole-3-acetic acid) มีคุณสมบัติที่ถูกทำลายโดยแสงและเอนไซน์ IAA oxidase ซึ่งพบสูงในเนื้อเยื้อที่เพาะเลี้ยง ดังนั้นในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อจึงควรใช้ ความเข้มข้นสูง 1-30 มิลลิกรัม/ลิตร
- กลุ่มออกซินที่ได้จากการสังเคราะห์ เช่น NAA (naphthalane acetic acid)
IBA (indole-3-butyric acid) ซึ่งไม่ถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์ ดังนั้นปริมาณทั่งใช้จึงน้อย และ
     2.4-D (2, 4-dichlorophenoxy acetic acid) มีฤทธิ์ค่อนข้างแรงปริมาณที่ใช้ตั้งแต่ 0.001-10 มิลลิกรัม/ลิตร

ผลของออกซิน
     1. เร่งการเจริญเติบโตของพืช โดยปกติออกซิเร่งการเจริญเติบโตในแทบทุกส่วนของพืชอย่างไร ก็ตามแต่ละส่วนแต่ละส่วนของพืชมีการตอบสนองต่อออกซินในปริมาณที่แตกต่างกันออกไป การที่ออกซินสามารถเร่งการเจริญเติบโตของพืชนี้เนื่องจากว่าสารชนิดนี้จะกระตุ้นการขยายตัวของเซลล์ทำให้เซลล์ขยายผลขึ้นมากกว่ากว่าปกติ ซึ่งเหตุผลอันนี้สามารถอภิปรายการเบนเข้าหาแสงของพืชในกระบวนการ phototropism ได้ว่า การเบนของพืชเกิดขึ้นเนื่องจากการขยายตัวของเซลล์ด้านที่ไม่ได้รับแสงมีมากกว่าการตัวของเซลล์อีกด้านหนึ่ง
     2. ควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างและแหล่งที่สำคัญของออกซินได้แก่ บริเวณปลายยอดอ่อน จะผลิตออกซินแล้วส่งไปยังสวนต่างๆ ของพืช การเคลื่อนที่ของออกซินลงมาข้างล่าง จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของตาข้าง โดยตาข้างจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ตราบใดที่ตาข้างได้รับออกซินจากยอด แต่ถ้าตัดยอดทิ้งไปตาข้างซึ่งอยู่ถัดไปจะเจริญเติบโตขึ้นมาทันทีและตาข้างที่เจริญเติบโตขึ้นมานี้จะผลิต ออกซินขึ้นมา และสามารถยับยั้งการเจริญของตาข้างที่อยู่ถัดลงไปอีก นอกจากออกซินจากยอดจะควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างแล้ว ยังควบคุมการทำมุมของกิ่งกับลำต้นด้วย ทั้งนี้จะสังเกตเห็นว่ากิ่งที่อยู่ใกล้ยอดจะทำมุมแคบกับลำต้น ถ้าตัดยอดทิ้งไป มุมของกิ่งดับลำต้นจะมขนาดกว้างขึ้น ปรากฏการณ์ที่ ออกซินจากยอดสามารถควบคุมการเจริญเติบโตของตาข้างและของกิ่งนี้เรียกว่า apical dominace
     3. ควบคุมการเจริญเติบโตของผลภายหลังการผสมเกสรได้เกิดขึ้นเรียนร้อยแล้ว พืชก็จะช่วยผลิตออกซินขึ้นมาเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของผล อย่างไรก็ตามพืชบางละชนิดก็ไม่สามารถผลิตออกซินขึ้นมาภายใน embryo sac ได้จนกว่าการปฏิสนธิ หรือจนกว่าการสร้างเมล็ดจะเกิดขึ้นตัวอย่าง เช่น การเจริญเติบโตของลูกสตรอเบอรี่ (ฐานรองดอก) จะขึ้นอยู่ออกซินที่ผลิตขึ้นภายในผลเล็กๆ (achene) ซึ่งอยู่บนฐานรองดอก การแกะผลเล็กๆทิ้งไปจะให้ฐานรองดอกไม่ขยายตัว
     4. ควบคุมการแตกราก การขยายพันธุ์พืชโดยวิธีนับการปักนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่จะรักษาพันธุ์เดิมของพืชนั้นๆ ไว้ ทั้งนี้เพราะการขยายพันธุ์โดยวิธีนี้จะไม่มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น ปัญหาของการขยายพันธุ์ไม้โดยวิธีปักชำนั้นได้แก่การที่กิ่งปักชำ มักไม่ออกรากหรือออกน้อย ทำให้การปักชำไม่ได้ผลเต็มที่ และมีการใช้ฮอร์โมนช่วยในการปักชำกันมากขึ้น
     5. ควบคุมการร่วงของใบ ดอก และผล เมื่อใบ ดอก และผลแก่เต็มที่ก็จะเกิดการร่วงขึ้นการร่วงนี้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในกายวิภาคและในด้านสรีรวิทยา ในด้านกายวิภาคนั้นพบว่าบริเวณที่จะร่วงจะเปลี่ยนเป็นคั่วที่เรียกว่า abscission zone ซึ่งประกอบไปด้วยเซลล์หลวมๆ จึงร่วงหล่นได้ง่าย แม้เพียงลมพัดเบาๆ ส่วนในด้านสรีวิทยานั้นจะเกี่ยวข้องกับสารเคมีหลายชนิดรวมทั้งออกซินด้วย การป้ายออกซินที่บริเวณส่วนล่างของ abscission zone จะทำให้การร่วงเร็วขึ้น แต่ถ้าป้ายที่ส่วนบนจะทำให้การร่วงช้าลง
     6. การเร่งรากออกดอกของพืชบางชนิด นอกจากจะทำให้การออกรากออกดอกเร็วแล้วยังทำให้ออกดอกโดยสม่ำเสมออีกด้วย
การทำงานของออกซิน
     ออกซินสามารถทำให้เกิดการขยายตัวของเซลล์ได้เนื่องจากมีคุณสมบัติ คือ เพิ่มการยืดตัวของ ผนังเซลล์ซึ่งผนังเซลล์ประกอบด้วยสารจำพวกเซลล์ลูโลสเป็นจำนวนมาก และสารดังกล่าวจะมีทั้ง ความเหนียวและความแข็งซึ่งยากต่อการขยายตัวของเซลล์ให้ยาวขึ้นการใส่ออกซินลงไปในพืชจะมีผลทำให้การยืดตัวของผนังเซลล์มากขึ้น และการยืดตัวดังกล่าวนี้เป็นการยืดตัวอย่างถาวร ไม่ใช่การยืดตัวแบบกลับไปกลับมา เมื่อผนังเซลล์มีการยืดตัว การขยายตัวของเซลล์ทั้งในด้านความยาวและความกว้างจึงเกิดขึ้นได้ง่าย การยืดตัวของผนังเซลล์ทั้งในขบวนการที่ต้องอาศัยพลังงาน ดังจะเห็นได้ว่าการยับยั้งการหายใจ จะมีผลทำให้การตอบสนองของพืชต่อออกซินน้อยลง
การข่มของตายอด (apical dominance)
        การข่มของตายอดเป็นปรากฏการณ์ที่ตายอดมีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง เนื่องจากอิทธิพลของออกซิน โดยปกติออกซินจากยอดและไซโทไคนินจากรากในสัดส่วนที่เหมาะสมสามารถกระตุ้นการเจริญของตาข้างได้ อย่างไรก็ตาม ตายอดสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้างได้ เพราะ ออกซินจากตายอดเคลื่อนที่ผ่านลงมายังตาข้างทำให้ออกซินที่ตาข้างเพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้สัดส่วนของออกซินและไซโทไคนินไม่เหมาะสมต่อการเจริญของตาข้าง ทำให้ตาข้างไม่เจริญ ตัวอย่างเช่น ต้นฤๅษีผสมที่มีการเจริญเติบโตของยอดดีตามธรรมชาติ แต่เมื่อทดลองตัดปลายยอดของต้นฤๅษีผสมออก พบว่าตาข้างของต้นจะมีการเจริญเติบโตได้ดี นั่นเป็นเพราะว่าสารออกซินที่อยู่ที่ปลายยอดของต้นเป็นสารที่ทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้างที่อยู่ถัดลงมา เมื่อเด็ดปลายยอดซึ่งเป็นส่วนที่สร้างสารออกซินออกไป ทำให้ไม่มีสารออกซินที่ปลายยอด เมื่อสารที่ไปยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้างลดน้อยลง ตาข้างจึงเจริญเติบโตดีขึ้น
ปัจจัยที่สำคัญต่อการสร้างตาดอกและการออกดอก

1. ปัจจัยด้านธาตุอาหาร

           การสร้างตาดอก เป็นช่วงของการเจริญเติบโตทางการสืบพันธุ์ของพืช โดยมีความสัมพันธ์กับการสะสมคาร์โบไฮเดรต กล่าวคือ การเจริญเติบโตของพืชโดยทั่วไปมีระยะที่เหลื่อมซ้อนกัน 2 ระยะ คือ ระยะการเจริญเติบโตทางกิ่ง ก้าน ใบและระยะการเจริญเติบโตทางการสืบพันธุ์
1) ระยะการเจริญเติบโตทางกิ่ง ก้านและใบ (vegetative growth) ระยะนี้ประกอบด้วยขบวนการสำคัญ 3 ขบวนการ คือ
(1) การแบ่งเซลล์
(2) การขยายตัวของเซลล์
(3) การแปลงรูปของเซลล์
การสร้างเซลล์ใหม่และการเจริญเติบโตของเซลล์พืชต้องการอาหารคาร์โบไฮเดรตจำนวนมากเพื่อไปรวมกับธาตุไนโตรเจนเป็นโปรตีน เพื่อสร้างเนื้อเยื่อเจริญของกิ่งก้านใบ คาร์โบไฮเดรตที่พืชสร้างได้ก็จะถูกนำไปใช้หมด
2) ระยะการเจริญเติบโตทางการสืบพันธุ์ (reproductive growth) เป็นระยะที่พืชสร้างตาดอก ดอก ผลและเมล็ด ระยะนี้มีขบวนการที่สำคัญประกอบด้วย
(1) การสร้างเซลล์จำนวนน้อย
(2) การเติบโตเต็มที่ของเนื้อเยื่อ
(3) การจับตัวหนาขึ้นของเส้นใย
(4) การสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของปุ่มตามดอก (flower bud primodia)
(5) การเจริญของตา ดอก ผลและเมล็ด
(6) การเจริญของโครงสร้างเนื้อเยื่อสะสมอาหาร
(7) การสร้างสารเก็บกักน้ำต่างๆ
จากระยะการเจริญเติบโตของทางการสืบพันธุ์ของพืช จะเห็นว่าพืชจำเป็นจะต้องใช้คาร์โบไฮเดรตเพื่อการเจริญเติบโตในช่วงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ ช่วงดังกล่าวพืชจะหยุดการเจริญเติบโตทางกิ่ง ก้าน และใบ ปัจจัยที่จะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตทาง กิ่ง ก้าน ใบที่สำคัญก็คือ ปริมาณธาตุไนโตรเจน ดังนั้นช่วงของการสร้างตาดอกหรือออกดอก พืชจะต้องได้รับปริมาณธาตุไนโตรเจนที่ต่ำกว่าปกติ
การสร้างตาดอกสามารถอธิบายบนพื้นฐานความสัมพันธ์ของจำนวนคาร์โบไฮเดรต และไนโตรเจนในเนื้อเยื่อของพืช จากผลการศึกษาของ Kraus และ Kraybill (อ้างโดย สัมฤทธิ์, 2527) สามารถแบ่งสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตได้เป็น 4 ขั้นด้วยกัน ซึ่งเป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปรสภาพในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ ขั้นแตกกิ่ง ก้าน ใบ ขั้นการออกดอกติดผล และการให้ผลผลิต
ขั้นการออกดอกติดผล และการให้ผลผลิต
     1. พืชมีไนโตรเจนอย่างเหลือเฟือ แต่ขาดคาร์โบไฮเดรต หรือมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำ จึงมีผลให้ กิ่ง ก้าน ใบแตกออกมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งในสภาพเช่นนี้พืชจะสร้างตาดอกจำนวนเล็กน้อยหรือไม่สร้างเลย และไม่ติดผล
     2. พืชมีไนโตรเจนมาก แต่ขาดคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีปริมาณต่ำกว่าระดับสมดุล ตึงเป็นผลให้มีกิ่งก้านใบที่แตกออกมาไม่สมบูรณ์ ในสภาพเช่นนี้พืชจะสร้างตาดอกบ้าง แต่มีจำนวนน้อยและติดผลน้อย
     3. พืชมีไนโตรเจนและคาร์โบไฮเดรตสมดุลกับจำนวนกิ่งก้านใบของพืช พืชที่มีสภาพการเช่นนี้จะสร้างตาดอกและติดผลดี
     4. พืชที่มีไนโตรเจนไม่เพียงพอ แต่มีคาร์โบไฮเดรตสะสมอยู่มาก ทำให้กิ่ง ก้าน ใย มีน้อยและอ่อนแอเนื่องจากสภาพการขาดไนโตรเจน จึงเป็นสาเหตุให้พืชสร้างตาดอกน้อยและติดผลน้อย
จากหลักการที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติที่ผู้ปลูกจะต้องนำไปศึกษาทดลองและสังเกตผลทั้งนี้เนื่องจากแม้จะมีการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์เพื่อหาสาเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตาดอก เช่น สัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตและธาตุไนโตรเจน และการสร้างฮอร์โมนดอก หรือ florigen ของพืชขณะออกดอกซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ฮอร์โมนนี้มีส่วนในการกระตุ้นการสร้างตาดอก หรือมีส่วนในการออกดอกหรือช่อดอก หรืออาจมีส่วนสัมพันธ์กับสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตกับไนโตรเจนในการสร้างตาดอก ซึ่งเรื่องนี้คงมีการศึกษากันต่อไป

2. ปัจจัยด้านสภาพสิ่งแวดล้อม
          สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการออกดอกของไม้ผล การที่ไม้ผลจะสร้างตาดอกและดอกที่สมบูรณ์ได้นั้น จะต้องเริ่มจากการมีกิ่งก้านใบที่สมบูรณ์ ซึ่งจะต้องอาศัยทั้งปัจจัยภายในของพืช และสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ได้แก่
        1) แสง
ความเข้มของแสงที่ส่องกระทบในพืชในฤดูกาลที่แตกต่างกันจะมีส่วนในการสังเคราะห์ปริมาณ คาร์โบไฮเดรตแตกต่างกันไป ในพืชจะสังเคราะห์แสงได้ก็ต่อเมื่อได้รับแสงแดในปริมาณที่พอเพียง
ดังนั้นการจัดทรงพุ่มและการตัดแต่งกิ่งให้มีจำนวนกิ่งและใบกระจายได้เหมาะสม ให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง จะทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้มากและสามารถสะสมคาร์โบไฮเดรตได้สูง เพราไม่มีใบที่ใช้อาหารอย่างเดียวโดยไม่สังเคราะห์แสง เช่นใยที่ไม่ได้รับแสง เนื่องจากมีทรงพุ่มทึบช่วงของแสง (photo period) ก็มีผลต่อการสะสมคาร์โบไฮเดรตและการสร้างตาดอก เช่น พืชวันยาว (long day plant) จะออกดอกในช่วงที่มีแสงยาวนาน ส่วนพืชวันสั้น (short day plant) จะออกดอกในช่วงที่มีแสงสั้น แต่การศึกษาเกี่ยวกับความต้องการช่วงแสงของไม้ผลในเมืองไทยยังไม่มีการศึกษากัน ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากไม้ผลที่เราปลูกอยู่ก็สามารถให้ผลตามฤดูกาบอยู่แล้ว และการควบคุมช่วงแสงสำหรับไม้ผลขนาดใหญ่จะต้องลงทุนสูงและอาจไม่คุ้มค่ากับการศึกษาเพื่อนำมาปฏิบัติจริง
       2) ความชื้น
ความชื้นของดินมีผลต่อการดูดธาตุอาหารพืช ถ้าดินมีความชื้นสูง ธาตุไนโตรเจนจะถูกนำมาใช้ได้ง่ายเนื่องจากละลายน้ำได้ดี พืชจะนำคาร์โบไฮเดรตที่สะสมไว้ไปสร้างกิ่งก้านใบ ทำให้เหลือคาร์โบไฮเดรต ไม่เพียงพอต่อการสร้างตาดอก ดังนั้นช่วงของการสร้างตาดอกพืชควรได้รับความชื้นในจำนวนจำกัด แต่ถ้า
ขาดความชื้นอย่างรุนแรงพืชก็ไม่สามารถสร้างตาดอกได้เช่นกัน
        3) อุณหภูมิ
มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนสภาพตาดอกไปเป็นดอกหรือช่อดอกโดยเฉพาะไม้ผลเขตกึ่งร้อนจะต้องการอุณหภูมิต่ำ สะสมได้จำนวนที่เหมาะสม เช่น ลำไย ลิ้นจี่ อโวกาโด ส้ม องุ่น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ไม้ผล เพราะไม้ผลบางพันธุ์สามารถปรับตัวให้ออกดอกในอุณหภูมิปกติของท้องถิ่นได้ หรืออาจจะใช้เทคโนโลยีด้านการตัดแต่งกิ่ง การควบคุมน้ำและการใช้สารเคมีเข้ามาช่วยทำให้สามารถออกดอกได้ตามฤดูกาลที่ต้องการ
 
3. ปัจจัยด้านการปฏิบัติรักษา
เทคนิคการปฏิบัติด้วยวิธีการต่างๆ เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการกระตุ้นให้พืชออกดอก วิธีที่นิยมกันโดยทั่วๆ ไปมีดังนี้
       1) การงดการให้น้ำในช่วงพืชสร้างตาดอก
โดยทั่วไปก่อนที่พืชจะแทงดอกหรือช่อดอกออกมาพืชจะต้องมีระยะเวลาในการสร้างตาดอก ช่วงการสร้างตาดอกเป็นช่วงการสะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ในส่วนต่างๆของพืช วิธีเร่งหรือบังคับการสร้างตาดอก วิธีหนึ่งก็คือ การงดการให้น้ำหรือควบคุมความชื้นเพื่อให้พืชหยุดการเจริญเติบโตทางกิ่ง ก้าน ใบ แต่ควรปฏิบัติกับพืชที่มีใบเจริญเติบโตเต็มที่หรือใบแก่จัด เมื่อเห็นว่าใบมีอาการเหี่ยวเฉาก็เริ่มให้น้ำและปุ๋ยเร่งดอก เช่น ปุ๋ยสูตร 12-24-12 หรือปุ๋ยน้ำฉีดพ่นทางใบจะทำให้พืชออกดอก วิธีนี้นิยมใช้บังคับมะนาวให้ออกดอกและติดผลนอกฤดูกาล แต่ข้อระวังก็คืออย่าให้พืชขาดน้ำจนทรุดโทรมจนไม่สามารถสร้างตาดอกได้
       2) การปลิดใบหรือการทำให้ใบร่วง
วิธีปฏิบัติก็เช่นเดียวกับวิธีที่ 1 คือ จะต้องบำรุงพืชให้เจริญเติบโตทางกิ่ง ก้านใบให้เต็มที่ก่อนแล้วจึงบังคับให้ใบร่วงโดยการปลิดใบด้วยมือหรือการพ่นสารเคมี เช่น ปุ๋ยยูเรีย โดยใช้ปุ๋ยยูเรียจำนวน 1 กิโลกรัมผสมน้ำ 20 ลิตรฉีกพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ประมาณ 3-7 วัน ใบจะร่วง ต่อจากนั้นก็เร่งปุ๋ยและให้น้ำ พืชจะแตกใบอ่อนพร้อมออกดอก วิธีนี้สามารถใช้กับมะนาว มะขาม น้อยหน่า หรือพืชอื่นที่ออกดอกพร้อมแตกใบอ่อนแต่ไม่ควรนำไปปฏิบัติกับพืชที่ออกดอกหรือช่อดอก เมื่อใบแก่จัด เช่น มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น
       3) การโน้มกิ่ง
โดยการโน้มกิ่งที่ตั้งตรงให้ขนานกับพื้นดินหรือให้ปลายกิ่งต่ำลงมา วิธีการนี้จะทำให้การเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาลที่ใบสังเคราะห์ได้ไปยังลำต้นได้ช้าลงทำให้เกิดการสะสมอาหารไว้ที่กิ่งมากขึ้นและสร้างตาดอกที่ตาข้างจำนวนมาก วิธีนี้เหมาะสำหรับบังคับพืชที่ออกดอกที่ตาข้าง หรือกิ่งที่มีอายุน้อยเพราะโดยธรรมชาติแล้วตายอดที่เจริญสูงขึ้นไปจะมีเพียงยอดเดียว ทำให้พืชที่ออกดอกที่ตายอดที่ยังอ่อนจึงมีจำนวนดอกน้อย แต่เมื่อเราบังคับให้มีตาข้างจำนวนมากจะทำให้เพิ่มจำนวนดอกมาขึ้นด้วย เช่น การโน้มกิ่งฝรั่ง เพื่อให้แตกตาข้างจำนวนมาก เพื่อเพิ่มจำนวนดอกและผล
       4) การรัดกิ่งและการควั่นกิ่ง
มีหลักการปฏิบัติเช่นเดียวกันคือ รัดโคนกิ่งด้วยลวดหรือควั่นเปลือกที่โคนกิ่งที่สมบูรณ์ เพื่อลดการเคลื่อนย้ายอาหารจากการสังเคราะห์แสงที่ใบไปยังลำต้นทำให้เกิดการสะสมคาร์โบไฮเดรตมากขึ้นทำให้เกิดตาดอกจำนวนมากขึ้น เช่น มะนาว องุ่น
       5) การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งปลายกิ่งเพื่อให้เกิดการแตกกิ่งใหม่จำนวนมากจะทำให้เกิดดอกเพิ่มขึ้น วิธีนี้เหมาะสมกับพืชที่ออกดอกหลังจากแตกยอดอ่อน การบังคับให้มีจำนวนดอกมากขึ้น จึงต้องบังคับให้มียอดอ่อนเกิดขึ้นก่อน เช่น ฝรั่ง และการตัดให้เหลือตอในองุ่นเพื่อให้เกิดยอดอ่อนพร้อมออกดอก

       จากแนวทางปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ ที่กล่าวมานี้เป็นการช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างตาดอก และการออกดอกโดยอาศัยเลียนแบบธรรมชาติของนิสัยการออกดอกของไม้ผลแต่ละชนิดดังนั้นการที่ผู้ปลูกจะต้องเรียนรู้นิสัยการออกดอกของไม้ผลแต่ละชนิดว่าต้องการสิ่งแวดล้อมลักษณะใด และที่สำคัญที่สุดก็คือการเตรียมความสมบูรณ์ของพืชก่อนจะบังคับให้พืชออกดอก เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเพราะถ้าพืชอ่อนแอการบังคับอาจทำให้ต้นพืชทรุดโทรมและตายได้หรือพืชอาจออกดอกแต่ไม่ติดผล ซึ่งจะทำให้มีผลเสียมากกว่าผลดี
ประเทศไทยมีพื้นที่ในการปลูกฟักทองเป็นจำนวนมาก การปลูกฟักทองลงทุนไม่สูงเนื่องจากฟักทองเป็นพืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และสามารถปลูกในสภาพดินได้เกือบทุกชนิด ใช้ระยะเวลา ในการปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตน้อย ขายได้ราคาดี ไม่มีปัญหาเรื่องการตลาด การปลูกฟักทองจึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรแต่คุณสมบัติของฟักทองโดยทั่วไป ต้นฟักทองในแต่ละต้นและในแต่ละยอดจะให้ผลผลิตที่สมบูรณ์ประมาณ 4 – 5 ผล เท่านั้น อีกทั้งฟักทองที่เป็นที่ต้องการของตลาดจะมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 3.00 – 4.00 กิโลกรัม จึงทำให้มีผลผลิตค่อนข้างต่ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด
ดังนั้นการทดลองครั้งนี้จึงมุ่งเน้นที่จะเพิ่มผลผลิตของฟักทองด้วยการทำให้มีดอกเพิ่มขึ้นทำให้จำเป็นต้องบังคับให้มียอดอ่อน โดยการเด็ดยอดทิ้งซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์ข่มของตายอด ทำให้ดอกเพิ่มขึ้นซึ่งดอกจะมีการพัฒนากลายไปเป็นผลทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://pantip.com/topic/30704140

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87

 
 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2559
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน