วิธีการทดลอง
แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการเพิ่มผลผลิตของฟักทองโดยการหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการเด็ดยอด
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาอัตราการรอดตายของฟักทองที่ถูกเด็ดยอด
ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบผลผลิตของฟักทองที่ปลูกด้วยวิธีการป้องกันปรากฏการณ์
ตายอดข่มตาข้าง (apical dominance) กับการปลูกแบบปกติ
ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาการเพิ่มผลผลิตของฟักทองโดยการหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการเด็ดยอด
แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 1
กลุ่มที่ 2 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 2
กลุ่มที่ 3 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 3
กลุ่มที่ 4 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 4
กลุ่มที่ 5 กลุ่มควบคุม ฟักทองปลูกปกติไม่เด็ดยอด
กลุ่มที่ 1 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 1
1. การเตรียมดินและแปลงปลูก
1.1 ไถดินลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร และตากดินทิ้งไว้ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
เพื่อปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย ตรวจวัดความเป็นกรด ด่าง ของดินให้มีค่า pH 5.5 6.8
(ปรับสภาพดินด้วยปูนขาวหรือผงกำมะถัน)
1.2 ยกแปลงปลูกสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 เมตร ยาวประมาณ 20 เมตร
เว้นระยะห่างระหว่างแปลงปลูก 4.5 5 เมตร
1.3 วางระบบการให้น้ำแบบสายน้ำหยด คลุมแปลงด้วยพลาสติกคลุมแปลงดำเทาและเจาะรู
พลาสติกคลุมแปลงให้มีระยะห่างระหว่างหลุม 1 เมตร ซึ่งใน 1 แปลงปลูกจะเจาะรู
สองด้านสลับฟันปลา
2. การเพาะเมล็ดและการปลูกฟักทอง
2.1 นำเมล็ดพันธุ์ฟักทองแช่น้ำที่ผสมกับสารเร่งราก 2 ชั่วโมง จากนั้นนำมาห่อผ้าขาวบางทิ้งไว้
ประมาณ 24 ชั่วโมง
2.2 นำดินสำหรับเพาะกล้าใส่ถาดเพาะกล้า รดน้ำให้ชุ่ม ใช้นิ้วกดตรงกลางหลุม นำเมล็ด
ฟักทองที่เตรียมไว้หยอดใส่หลุมกลบปากหลุมด้วยดินเพาะกล้า เพาะต้นกล้าไว้ประมาณ
10 วัน หรือมีใบจริงขึ้น 1 ใบ จากนั้นให้ย้ายต้นกล้าจำนวน 30 ต้นลงแปลงปลูก
ที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม
3. การเด็ดยอดฟักทอง
3.1 เมื่อฟักทองโตขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร หรือมีใบจริงแตกออกมา 2 ใบ จากนั้นเด็ดยอด
ฟักทองเหนือข้อที่ 1 โดยนับจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน
|
กลุ่มที่ 2 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 2
1. ทำการทดลองเช่นเดียวกันกับข้อที่ 1 2 ของกลุ่มที่ 1
2. การเด็ดยอดฟักทอง เมื่อฟักทองโตขึ้นประมาณ 20 เซนติเมตร หรือมีใบจริงแตกออกมา 3 ใบ
จากนั้นเด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 2 โดยนับจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน
กลุ่มที่ 3 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 3
1. ทำการทดลองเช่นเดียวกันกับข้อที่ 1 2 ของกลุ่มที่ 1
2. การเด็ดยอดฟักทอง เมื่อฟักทองโตขึ้นประมาณ 30 เซนติเมตร หรือมีใบจริงแตกออกมา 4 ใบ
จากนั้นเด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 3 โดยนับจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน
กลุ่มที่ 4 เด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 4
1. ทำการทดลองเช่นเดียวกันกับข้อที่ 1 2 ของกลุ่มที่ 1
2. การเด็ดยอดฟักทอง เมื่อฟักทองโตขึ้นประมาณ 40 เซนติเมตร หรือมีใบจริงแตกออกมา 5 ใบ
จากนั้นเด็ดยอดฟักทองเหนือข้อที่ 4 โดยนับจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน
กลุ่มที่ 5 กลุ่มควบคุม ฟักทองปลูกปกติไม่เด็ดยอด
1. ทำการทดลองเช่นเดียวกันกับข้อที่ 1 2 ของกลุ่มที่ 1
2. การทดลองในกลุ่มควบคุมนี้จะไม่เด็ดยอดฟักทองจะทำการปลูกแบบปกติ
บันทึกผลการทดลอง
แต่ละกลุ่มการทดลองทำการบันทึกการแตกยอดของฟักทองทุกๆ 10 วัน จนถึงวันที่ 60 ของการทดลอง
ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาอัตราการรอดตายของฟักทองที่ถูกเด็ดยอด
(เป็นการทดลองที่ต่อเนื่องจากการทดลองขั้นตอนที่ 1 โดยการศึกษาอัตราการรอดตายของฟักทอง
ที่ถูกเด็ดยอดที่ตำแหน่งต่างๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบหาอัตราการรอดตาย)
วิธีการทดลอง
ทำการทดลองโดยการนับจำนวนต้นฟักทองที่รอดตายในแต่ละกลุ่มการทดลองเมื่อมีอายุ 60 วัน แล้วหาค่าร้อยละการรอดตายของฟักทอง
บันทึกผลการทดลอง
แต่ละกลุ่มการทดลองทำการบันทึกอัตราการรอดตายของฟักทองเมื่อมีอายุ 60 วัน
ขั้นตอนที่ 3 การเปรียบเทียบผลผลิตของฟักทองที่ปลูกด้วยวิธีการป้องกันปรากฏการณ์
ตายอดข่มตาข้าง (apical dominance) กับการปลูกแบบปกติ
(เป็นการทดลองที่ต่อเนื่องจากการทดลองขั้นตอนที่ 1 และ 2 โดยศึกษาการเปรียบเทียบผลผลิตของฟักทองที่ปลูกด้วยวิธีการตัดตายอดออกป้องกันปรากฏการณ์ตายอดข่มตาข้าง (apical dominance) กับการปลูกแบบปกติ)
วิธีการทดลอง
ทำการทดลองโดยการนับจำนวนดอกและผลรวมทั้งน้ำหนักของฟักทองในแต่ละกลุ่มการทดลองแล้วหาค่าเฉลี่ยน้ำหนักของฟักทองต่อ 1 ผล
บันทึกผลการทดลอง
1. ทำการบันทึกจำนวนดอกของฟักทองและจำนวนดอกของฟักทองที่กลายเป็นผล
2. บันทึกจำนวนผลของฟักทอง น้ำหนักรวมและน้ำหนักเฉลี่ย/ ผลของฟักทอง
|