เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเก้าเลี้ยวส่วนใหญ่เป็นชาวจีนดังนั้นจึงจัดตั้งศาลเจ้า บริเวณริมเขื่อนเพื่อไว้เป็นที่สักการะบูชาของคนที่นับถือ ศาลเจ้าตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำปิง มีที่กว้างขวางและทุกเดือนที่ 3 ของทุกปี จะมีประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ของคนตลาดเก้าเลี้ยวงานจะมีด้วยกัน 2 วัน วันแรกจะมีงานตอนกลางคืนโดยมีขบวนนางรำและมีเจ้าแม่กวนอิม มีการแห่สิงโต โดยจะแห่ขบวนไปรอบๆตลาดเก้าเลี้ยวและมีการร่วมประมูลของศาลเจ้า และมีมหรสพให้ชม ในอำเภอเก้าเลี้ยวมี2 ศาลเจ้าอีกศาลเจ้าหนึ่งชื่อว่า ศาลเจ้าหมอ เป็นศาลเจ้าเล็กๆอยู่ติดกับตลาดเก้าเลี้ยวมีเนื้อที่ประมาณ 25 ตารางวา เมื่อมีงานแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ จะมีการมารับเจ้าพ่อและก๋ง จากศาลเจ้าพ่อหมอ โดยมีลักษณะคล้ายเก้าอี้ มีทั้งหมด10องค์เมื่อเสร็จงานแล้วก็จะนำก๋งมาส่ง อีกงานหนึ่งคือครบรอบวันเกิดของก๋งโดยจะมีการทำบุญและมีงิ้วมาแสดงให้ชมถึง7คืนชาติไทย เป็นชาติที่มีศิลปะการแสดงหลากหลาย ทั้งในระดับสังคมชาวบ้าน และในราชสำนัก ศิลปะการแสดงเหล่านี้ แสดงถึงวัฒนธรรมที่มีคุณค่าสูงส่งและความเป็นอารยชาติ ศิลปะการแสดงของไทย โดยเฉพาะโขน- ละคร เป็นศิลปะที่แฝงไว้ซึ่งภูมิปัญญา ที่มิใช่มีแต่ความงามแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นศิลปะที่ชาวโลกทุกคนควรจะได้สัมผัสและรับรู้ได้ศิลปะการแสดงของไทย เชื่อกันว่ามีพื้นฐานมาจากสาเหตุสำคัญ ๒ ประการประการแรก เกิดจากพื้นฐานอารมณ์สะเทือนใจของมนุษย์ เช่น ดีใจก็โลดเต้นส่งเสียงร้อง เสียใจก็ร้องไห้คร่ำครวญ ต่อมาจึงได้พัฒนาอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ให้เป็นพื้นฐานการแสดงในที่สุดประการที่สอง เกิดจากความเชื่อทางศาสนา เช่น เชื่อว่าสรรพสิ่งรอบตัวในธรรมชาติมีอำนาจที่เร้นลับแฝงอยู่ สามารถดลบันดาลให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ และต่อมาได้พัฒนาเป็นระบบเทพเจ้า การอ้อนวอนธรรมชาติหรือเทพเจ้าให้เกิดความพึงพอใจ เพื่อประทานผลสำเร็จ ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นต้นแบบให้เกิดการสวดอ้อนวอน การขับร้องดนตรี และการฟ้อนรำรูปแบบศิลปะการแสดงของไทยได้พัฒนาการมาเป็นลำดับ ทั้งในแนวของศิลปะพื้นบ้านหรือเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า การแสดงพื้นบ้าน เช่น รำ ระบำ และละครบางประเภท ส่วนอีกแนวหนึ่งนั้น เป็นศิลปะที่อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือพระอุปถัมภ์ของพระบรมวงศ์ ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันในชื่อว่า ศิลปะในราชสำนัก หรือการแสดงในราชสำนัก ซึ่งเป็นที่มาของรูปแบบนาฏศิลป์ประเภท โขน รำ ระบำ และละครรำ ในปัจจุบัน หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยผู้แสดงคนเดียว เรียกว่า รำเดี่ยว หรือผู้แสดงสองคน เรียกว่า รำคู่ แต่มีรำบางชนิดที่มีผู้แสดงมากกว่า ๒ คน แต่ยังเรียกว่า รำ เช่น รำสีนวล รำวง ฯลฯ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม การเคลื่อนไหวของผู้แสดงที่สอดประสานกับเพลงดนตรี ไม่มุ่งเน้นในเนื้อเรื่องการแสดงระบำ ปัจจุบัน หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วยผู้แสดงจำนวนมากกว่า ๒ คน ขึ้นไป มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม ความพร้อมเพรียง การแปรแถวในขณะแสดง ประกอบกับการแต่งกาย และเพลงดนตรีที่ไพเราะการแสดงรำและระบำ อาจเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงในเรื่อง แต่ด้วยความงดงามดังกล่าว สามารถตัดทอนนำมาใช้แสดงเป็นชุดการแสดงที่เป็นเอกเทศได้ การแต่งกายของ รำ ระบำ แต่เดิมแต่งยืนเครื่องพระนาง ในปัจจุบันได้เกิดรำ ระบำแบบใหม่ ๆ ซึ่งแต่งกายตามสภาพหรือแต่งกายตามรูปแบบการแสดงละครประเภทต่าง ๆรำโทน เป็นศิลปะของคนในท้องถิ่น สาเหตุที่เรียกว่ารำโทนก็เนื่องจากใช้ โทน ลักษณะเป็นกลองหน้าเดียวเป็นเครื่องดนตรีหลักในการให้จังหวะ บางครั้งก็เรียกกันว่า รำวง โดยเรียกตามลักษณะการก้าวเท้าเคลื่อนย้ายตามกันเป็นวงของผู้รำ และเมื่อชาวกรุงไปพบเข้าจึงเรียกการรำชนิดนี้ว่า รำวงพื้นเมืองรำวง หรือรำโทน ชื่อนี้ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ (proper noun) หรือชื่อตายตัว อย่างที่เป็นในระยะหลัง แต่ชาวท้องถิ่นจะเรียกศิลปะนี้ในชื่ออื่นแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น และการร่ายรำชนิดนี้ที่มาจากภาคอีสาน หรือจังหวัดในภาคเหนือ ที่มีคนเชื้อสายลาวอาศัยอยู่ เช่น เพชรบูรณ์ ซึ่งสืบทอดถ่ายโอนมาจากลาวที่มาของรำโทน หรือรำวงนั้น ได้จากการเล่า นิทานก้อม หมายถึง นิทานสั้นๆ เป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณ หรือเรื่องที่กุหรือแต่งขึ้นในภายหลัง การเล่านิทานก้อม มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อความสนุกสนาน ตลกโปกฮาและคลายทุกข์โศก ดังนั้นจึงนิยมจัดให้มีการเล่านิทานก้อมในงาน งันเฮือนดี หรืองานศพ เพราะเรื่องราวต่างๆในนิทานจะได้สร้างความเพลิดเพลินสนุกสนาน
เป็นการปลุกปลอบให้กำลังใจแก่ญาติพี่น้องของคนตายให้ปลงและเลิกโศกเศร้าไปในตัวส่วนแขกเหรื่อในชุมชนที่มาช่วยงานก็จะได้รับความสนุกเพลิดเพลินในขณะช่วยงานไปด้วยลักษณะการรำโทนนั้นเป็นการรำคู่ระหว่างชายหญิงให้เข้ากับจังหวะโทน โดยไม่มีท่ารำกำหนดเป็นแบบแผนตายตัว ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รำโทนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายตามจังหวัดต่าง ๆ บทร้องมีหลายลักษณะ เริ่มตั้งแต่บทชมโฉม บทเกี้ยวพาราสี บทสัพยอกหยอกเย้า และบทพรอดพร่ำร่ำลาจากกันในช่วง พ.ศ. ๒๔๘๔ อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นได้เจรจาขอตั้งฐานทัพในประเทศไทย เพื่อเป็นทางผ่านสำหรับลำเลียงเสบียง อาวุธ และกำลังพล เพื่อไปต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตร โดยยกพลขึ้นที่ ตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น จำเป็นต้องยอมให้ทหารญี่ปุ่นตั้งฐานทัพ มิฉะนั้นจะถูกฝ่ายอักษะ ซึ่งมีประเทศญี่ปุ่นรวมอยู่ด้วยนั้นปราบปราม ประเทศไทยขณะนั้นจึงเป็นเป้าหมายให้ฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตี ส่งเครื่องบินมาทิ้งระเบิดทำลาย ทำให้ชีวิตผู้คน บ้านเรือน ทรัพย์สินเสียหายยับเยิน โดยเฉพาะที่ที่อยู่ใกล้กับฐานทัพญี่ปุ่น ส่วนใหญ่แล้วฝ่ายพันธมิตรจะส่งเครื่องบินมารุกรานจุดยุทธศาสตร์ในเวลาคืนเดือนหงาย เพราะจะมองเห็นจุดยุทธศาสตร์ได้ง่าย ชาวไทยมีทั้งความหวาดกลัวและตึงเครียด จึงได้ชักชวนกันเล่นเพลงพื้นเมือง คือการรำโทน เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ที่ตึงเครียด ให้เพลิดเพลินสนุกสนานขึ้นบ้าง ที่มาhttp://www.prapayneethai.com