Ran khaa ya
     
 

บทสรุป

ชื่อเรื่อง : บ่อเลี้ยงปลาจากฟิวเจอร์บอร์ด
ผู้จัดทำ :   1.นายธีรบุตร อินทร์ถาวร                เลขที่ 3        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
                2.นายณัฐพงษ์ ไสแสง                     เลขที่ 5        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
                3.นายวาสุกาญจน์ ศรีผง                  เลขที่ 13     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
                4.นางสาวฐิติรัตน์ โพธิ์ศรี                เลขที่ 28     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
               จุดมุ่งหมายของโครงงานพัฒนาเว็บไซต์ เพื่อจัดทำเว็บไซต์เรื่องบ่อเลี้ยงปลาจากฟิวเจอร์บอร์ด
พลาสติกลูกฟูก
(corrugated plastic) หรือ แผ่นโพลีโพรพีลีน (polypropylene sheet) (เรียกสั้นๆว่า พีพีบอร์ด) เป็นแผ่นพลาสติกแข็งสร้างจากโพลีโพรพีลีน (PP) มีลักษณะคล้ายกับกระดาษลูกฟูก ซึ่งเป็นลักษณะแผ่นพลาสติกประกบกันสองข้าง และตรงกลางเป็นสันและเป็นรูสลับกันไป ฟีเจอร์บอร์ดเป็นวัสดุน้ำหนักเบาที่สามารถตัดและนำมาใช้ในงานได้หลากหลาย รวมถึง กล่องพัสดุ งานศิลปะ งานอดิเรก และป้ายชั่วคราว[1] เป็นต้น
ในหลายๆ ประเทศมีเรียกชื่อพลาสติกลูกฟูกตามชื่อทางการค้า เช่นในอเมริกานิยมเรียกว่า คอโรพลาสต์ (Coroplast), ในยุโรปนิยมเรียกว่า คอร์เร็กซ์ (Correx), ในออสเตรเลียนิยมเรียกว่า ฟลุตบอร์ด (Fluteboard) และในญี่ปุ่นนิยมเรียกว่า ปุระดัน (Pladan)สำหรับในประเทศไทย เรียกเป็น "ฟิวเจอร์บอร์ด" (Future board) เพราะเป็นชื่อยี่ห้อของพีพีบอร์ด ที่นิยมยี่ห้อแรกๆ จนติดปากเรียกใช้แทนแผ่นพีพีบอร์ดทุกยี่ห้อในไทยหลายคนเข้าใจว่า คำว่า "ฟิวเจอร์บอร์ด" มาจากคำว่า "ฟีเจอร์บอร์ด" (Feature board) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด
ปลาหางนกยูง

ลักษณะและความเป็นมา
เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่ามีการกระจายพันธุ์บริเวณทวีปอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดจนถึงน้ำกร่อยที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อย ๆ เป็นปลาอาศัยอยู่รวมเป็นฝูง หากินบริเวณผิวน้ำ โดยกินทั้งพืชและสัตว์น้ำรวมถึงแมลงหรือตัวอ่อนแมลงขนาดเล็กด้วยปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม ในประเทศไทยได้มีการนำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนิยมเลี้ยงกันในอ่างบัว เพราะเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายมาก มีสีสันสวยงาม สามารถเลี้ยงรวมกันเป็นฝูงได้ จากการเป็นปลาผิวน้ำและเป็นปลาขนาดเล็ก ทำให้การเลี้ยงปลาหางนกยูงในอ่างบัว ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องให้ออกซิเจนเหมือนปลาชนิดอื่น ๆ อีกทั้งการแพร่ขยายพันธุ์ก็กระทำได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นปลาที่ปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นตัว โดยปลาตัวเมียเมื่อได้รับการผสมแล้วจะสามารถให้ลูกไปได้ราว 2-3 ครอก ซึ่งการขยายพันธุ์ก็เพียงแค่จับปลาตัวผู้และตัวเมียมาเลี้ยงไว้รวมกันก็สามารถให้ลูกได้แล้ว โดยปลาที่มีความพร้อมที่จะขยายพันธุ์จะมีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีสันและลวดลายรวมทั้งขนาดลำตัวให้แตกต่าง สวยงามไปจากพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติเยอะมาก มีหลายสายพันธุ์ เช่น "ทักซิโด้", "กร๊าซ", "คอบร้า", "โมเสก" , "หางดาบ", "นีออน" เป็นต้นจากความเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ขยายพันธุ์ง่าย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รณรงค์ให้คนไทยเลี้ยงปลาหางนกยูงไว้ในภาชนะที่ใส่น้ำในบ้านเพื่อกินลูกน้ำและยุงเพื่อเป็นการป้องกันโรคต่าง ๆ ที่เกิดจากยุง และในปัจจุบัน ปลาหางนกยูงได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดหนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว มีการพบในแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปปะปนกับปลาขนาดเล็กพื้นเมืองทั้งหลาย ซึ่งปลาหางนกยูงส่วนใหญ่ในธรรมชาติที่พบนั้น จะมีลำตัวใส ไม่มีลวดลายทั้งนี้เนื่องจากเป็นผลจากการผสมภายในสายเลือดเดียวกันนอกจากนี้แล้ว ในทางวิชาการ จากการทดลองของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ ที่ได้ออกแบบสถานการณ์กระตุ้นระดับความเครียดของปลาหางนกยูงจากธรรมชาติในตรินิแดดและโตเบโก เพื่อสังเกตพฤติกรรมของปลาแต่ละตัว พบว่า ปลาหางนกยูงมีพฤติกรรมที่หลากหลายในการรับมือกับความเครียด เช่น บางตัวพยายามจะที่จะหลบหนีออกมา, บางตัวก็สังเกตอย่างระมัดระวัง สรุปได้ว่า การเปบี่ยนแปลงพฤติกรรมของปลาหางนกยูงขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เช่น ทุกตัวจะเคร่งเครียดขึ้นในสถานการณ์ที่เครียดมากขึ้น

 


 ผลปรากฏว่า ได้เว็บไซต์เรื่อง      ที่ URL : http://chaiwbi.com/2560student/m5/d5401/wbi/605403/

   
     
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน