Ran khaa ya
   
 
 

ความเป็นมา

ตั้งเเต่โบราณจนถึงปัจจุบันคนในประทศของเราได้มีการทำการเกษตรอย่างมากมาย โดยอาทิเช่นข้าว เเต่ข้าวมิได้เเค่มีประโยชน์เเค่เมล็ดช้าว เเต่ยังมีฟาวของข้าวที่ผู้คนส่วนใหญ่ทิ้งกัน
เเต่หารู้ไม่ว่าฟางที่เราทิ้งนั้นมีประโยชน์มากมาย เราจึงเห็นว่าฟางสามารถนำมาเพิ่มมูลค่าให้กับเราได้ หรืออาจจะเป็นอาชีพๆได้เลยทีเดียว.
เป็นผลผลิตพลอยได้ชนิดหนึ่งจากเกษตรกรรม คือลำต้นแห้งของธัญพืชหลังจากการเก็บเกี่ยว ฟางเกิดขึ้นจากต้นของธัญพืชอาทิ ข้าวบาร์เลย์

ข้าวโอ๊ต ข้าวเจ้า ข้าวไรย์ ข้าวสาลี เป็นต้น ประโยชน์ของฟางมีมากมายตั้งแต่ใช้เป็นอาหารสัตว์ หัตถกรรม ไปจนถึงพลังงานทดแทนฟางข้าวมีคุณค่าทางอาหารต่ำ คือ มีวัตถุแห้งอยู่ 93.5 เปอร์เซ็นต์ โปรตีน 2.76 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 36.17 เปอร์เซ็นต์ และค่าโภชนะย่อยได้ทั้งหมด (TDN) 44.4 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากฟางข้าวมีคุณค่าทางโภชนะต่ำ การใช้ฟางข้าวเพียงอย่างเดียวเลี้ยงสัตว์เป็นเวลานาน จากการที่ฟางมีอัตราการย่อยต่ำ ทำให้ฟางอยู่ในกระเพาะหมักเป็นเวลานาน เพราะจุลินทรีย์ต้องใช้เวลาในการย่อยมากขึ้น ทำให้สัตว์ได้รับโภชนะต่างๆ ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้น้ำหนักลดลง
ฟางใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง และควรใช้ร่วมกับอาหารข้นหรือเสริมด้วยใบพืชตระกูลถั่วโปรตีนสูง
การปรับปรุงคุณภาพของฟางข้าว เพื่อให้สัตว์ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น ได้แก่ การทำฟางหมักยูเรีย และฟางปรุงแต่งสด โดยใช้สารละลายยูเรีย-กากน้ำตาล ราดฟางให้ทั่ว(สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม)
การใช้ฟางหมักเลี้ยงโค-กระบือ สามารถใช้ในสภาพเปียกหรือแห้งก็ได้ ฟางหมักที่เปิดจากกอง ใหม่ ๆ มีกลิ่นฉุนของแอมโมเนีย ควรทิ้งไว้สักพัก (ประมาณ 2 ชั่วโมง) ก่อนให้สัตว์กิน ถ้าใช้ฟางหมักยูเรีย เป็นอาหารหยาบอย่างเดียว ควรเสริมอาหารข้น เพื่อให้เกิดแหล่งพลังงานในการสังเคราะห์โปรตีนของ จุลินทรีย์ และควรมีน้ำสะอาดให้โค-กระบือกินตลอดเวลา

ที่มา http://pvlo-spr.dld.go.th/Animal%20food/roughage/straw.html
.

 
   
 
   
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
   
SITEMAP นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน