Ran khaa ya
การสร้างรายได้ในชุมชน
สำหรับในช่วงนี้ในพื้นที่ของจังหวัดลพบุรี เป็นช่วงที่ชาวนาเริ่มเก็บเกี่ยวข้าวที่ปลูกไว้ในแปลงนา ซึ่งจะทิ้งฟางข้าวเอาไว้จำนวนมาก ทำให้เกิดมีอาชีพอัดฟางจำหน่ายขึ้นมาอีกอาชีพหนึ่ง เพื่อนำฟางทำการอัดก้อนแล้วเก็บไว้เป็นเสบียง เลี้ยงโคนม เพาะเห็ดฟาง คลุมสวนผลไม้ และเกษตรอินทรีย์ เพาะช่วงนี้จะถือว่า เป็นช่วงที่มีความต้องการฟางอัดมาก เพราะเข้าสู่ฤดูแล้งฟางจะหายาก และมีความต้องการของตลาดสูงมาก
โดยนายสมสิน บุญสันเทียะ ผู้หันมาทำอาชีพอัดฟางจำหน่าย เปิดเผยว่า ในการอัดฟางเก็บตักตุนเอาไว้เป็นเสบียงอาหาร โดยติดต่อซื้อฟางจากชาวนา ซึ่งชาวนาคิดค่าฟางไร่ละ 50-100 บาท ทั้งนี้ ราคาค่าฟางขึ้นอยู่กับสภาพฟางในแปลงว่าหนาหรือบาง ก่อนอัดฟาง ควรปล่อยให้ฟางข้าวตากแดดในนา 2-3 วัน เพื่อให้ฟางแห้ง และไม่เป็นเชื้อรา ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับอัดฟ่อนคือ เวลาประมาณ 10.00-16.00น.ณนุ๊ก-จารุวรรณ คำเมือง หนึ่งในเจ้าของธุรกิจกระดาษฟางข้าวส่งออก เล่าว่า “ตอนเด็กๆ คุณครูที่รร.บ้านสามขาจะสอนให้นักเรียนรู้จักเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆ รอบชุมชน อย่างห้วยสามขา เห็ด ป่า นา ข้าว พอโตขึ้นนุ๊กมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาจากมูลนิธิไทยคม เรียนจนจบปริญญาตรี สาขาภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
แต่ถึงจะเรียนอยู่กรุงเทพฯ ใจก็ยังคิดเสมอว่าอยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิดค่ะ เพราะเราผูกพันกับชุมชนบ้านสามขาตั้งแต่เด็ก พอเรียนจบจึงตัดสินใจกลับมาเริ่มต้นธุรกิจทำกระดาษฟางข้าวค่ะสาเหตุที่นุ๊กเลือกทำกระดาษฟางข้าว เพราะเห็นว่าฟางข้าวเป็นวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรฯ ที่มีอยู่ในชุมชน เป็นวัสดุที่เหลือใช้ของบรรพบุรุษ ซึ่งส่วนตัวนุ๊กเองก็ทำนาไม่เป็นปลูกข้าวไม่เป็น แต่ในฐานะของคนรุ่นใหม่เราก็ยังอยากคงไว้ซึ่งอาชีพของบรรพบุรุษอยู่ค่ะ ก็เลยหันมาคิดใหม่ทำใหม่ใช้ความรู้ของตัวเองที่เรียนมาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และเมื่อเทรนด์โลกกำลังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม ยิ่งทำให้ธุรกิจนี้ได้รับความนิยมจากต่างประเทศสูงค่ะ เพราะอย่างในประเทศไทยอาจจะยังไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ แต่สำหรับประเทศอื่นๆ มองว่า พอนำกระดาษฟางข้าวทำเป็นบรรจุภัณฑ์ก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้ ตอนนี้นุ๊กก็เริ่มส่งออกสินค้าไปให้ลูกค้าทางมาเลเซีย ด้วยรายได้เฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาทค่ะ”“ด้วยความที่นุ๊กเคยเป็นลูกจ้างมาก่อน เราก็จะคิดตลอดว่าจะไปสมัครงานที่ไหนดี ที่ไหนจะทำให้คุณภาพชีวิตของเรามั่นคงและดีขึ้น สามารถเลี้ยงครอบครัวได้ แต่วันนี้พอได้มาทำธุรกิจของตัวเอง จากที่เคยคิดถึงเรื่องการหางานทำก็เปลี่ยนมาคิดว่าเราจะสร้างงานให้ตัวเองและคนอื่นยังไง ซึ่งตอนนี้ธุรกิจกระดาษฟางข้าวไม่ได้ช่วยสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านเท่านั้น แต่ยังทำให้พวกเขาสามารถกลับมาทำงานที่บ้านเกิด ได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น กลายเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง ร.9 และถ้าในอนาคตเด็กๆ มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ในชุมชนเหมือนกับฟางข้าว ไม่ได้มองว่าเป็นแค่ขยะ แต่เราสามารถใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ่งเหล่านั้นได้อย่างมากมาย พวกเขาก็จะเกิดความภาคภูม
ิใจในบ้านเกิดของตัวเองค่ะ
ที่มา https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_133589
เว็บไซต์นี้ แสดงผลได้ดี บนความละเอียด 1024x768 Text Size Medium
วิชา การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดทำโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
SITEMAP
นโยบายความเป็นส่วนตัว
นโยบายการคืนสินค้า
กฎของร้าน