1. วางแผน/กำหนดข้อหัว และเนื้อหาที่นำเสนอ
2. สร้างผังโครงสร้างของเว็บไซต์ (Flow Chart) ตัวอย่าง ดังภาพ
3. การตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์
ชื่อและนามสกุลไฟล์ ตลอดจนโฟลเดอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารเว็บเพจ รูปภาพ ไฟล์เสียง ไฟล์ VDO ควรใช้อักษร ภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก หรือผสมกับตัวเลข 0-9 หรือเครื่องมือขีดลบ/ขีดล่าง
4. สร้างโฟลเดอร์เฉพาะสำหรับเอกสารเว็บแต่ละชุด/เรื่อง ในโฟลเดอร์ที่สร้าง สามารถสร้างโฟลเดอร์ย่อย เพื่อเก็บไฟล์ให้เป็นระบบระเบียบได้
5. จัดหาภาพหรือสร้างภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ได้แก่
สร้างภาพด้วยโปรแกรมกราฟิก เช่น Adobe PhotoShop
คัดเลือกจาก Clipart fot Web เช่น CD-ROM รวมภาพสำหรับเว็บ
6. ภาพที่เลือกใช้ทั้งหมด ต้องเก็บไว้ในโฟลเดอร์ที่สร้างไว้ก่อนแล้ว
7. สร้างเอกสารเว็บ โดยลงรหัส HTML หรือใช้โปรแกรมสร้างเว็บช่วย
7.1 การสร้างเว็บเพจ โดยลงรหัส HTML
ใช้ภาษา HTML โดยห้อนคำสั่งภาษา HTML ด้วยโปรแกรม Text Editor เช่น NotePad
ใส่คำสั่งได้ตามต้องการ
ไม่เหมาะสำหรับผู้พัฒนาในระดับต้น
7.2 .ใช้โปรแกรมสร้างเอกสร้างเว็บ เช่น Macromedia Dreamweaver
ไม่ต้องศึกษาภาษา HTML
จุดด้อยคือ โปรแกรมจะไม่รู้จักคำสั่ง HTML ใหม่ๆ
8. ภาษาไทยกับการสร้างเว็บ เลือกรูปแบบการเข้ารหัสภาษาไทยที่ถูกต้อง Windows-874 หรือ TIS-620
9. กำหนดฟอนต์ให้กับข้อมูล เพื่อให้แสดงผลภาษาไทยได้ถกต้อง เช่น MS San Serif, Thonburi เป็นฟอนต์ที่เหมาะสมที่สุดในการแสดงผลภาษาไทย เช่น การเว้นวรรค เป็นระยะในประโยคเพื่อให้เบราเซอร์แสดงผลภาษาไทย
10. ไฟล์เอกสาร HTML ทุกไฟล์ต้องบันทึกไว้ในโฟลเดอร์ที่สร้างไว้ก่อน รวมกับรูปภาพที่จัดเตรียมไว้แล้ว
11. ตรวจสอบผลเอกสาร HTML ด้วยเบราเซอร์ซึ่งมีหลายค่ายหลายรุ่น เว็บเบราเซอร์แต่ละค่าย แต่ละรุ่น จะรู้จักคำสั่ง HTML ไม่เท่ากัน
12. ส่งข้อมูลขึ้นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server)
13. ตรวจสอบผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายที่เรียกดูข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย
|