ประเภททางการเกษตร แบ่งออกได้ 2 สาขาใหญ่ ๆ
1. สาขาพืช พืช หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่สามารถกินอาหารได้ เคลื่อนไหว เจริญเติบโต และขยายพันธุ์ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยราก ลำต้น ใบ ดอก ผลและเมล็ด ยกเว้นพืชบางชนิดอาจประกอบด้วยส่วนอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่แทนส่วนต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น เช่น เห็ด สาหร่าย เป็นต้น
2. สาขาสัตว์ สัตว์ในที่นี้หมายถึง การเลี้ยงสัตว์ อันได้แก่การปฏิบัติที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดู การให้อาหาร การบำรุงพันธุ์ และการสุขาภิบาลแก่สัตว์เพื่อให้ผู้เลี้ยงได้รับประโยชน์จากสัตว์ เช่น การใช้แรงงานและผลผลิตต่าง ๆ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นต้น
การจำแนกประเภทของพืชตามลักษณะการเพาะปลูก
โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งพืช ตามวิธีการเพาะปลูก สภาพของพื้นที การปฏิบัติบำรุงรักษา ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการปลูกและการใช้ประโยชน์ ออกเป็น 3 ประเภท คือ
|
1. ป่าไม้ คือ อาณาบริเวณที่ต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีพื้นที่กว้างขวางพอที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น ลมฟ้าอากาศในบริเวณท้องถิ่นนั้น ป่าไม้เป็นทรัพยากรที่หมดสิ้นและสูญพันธุ์ไปได้ แต่สามารถรักษาให้คงที่ไว้ได้ หรือสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยการสร้างสวนป่าขึ้นทดแทนป่าที่ถูกทำลายไป
ชนิดของป่าไม้ในประเทศไทย
1,1 ป่าดงดิบ เป็นป่าไม้ไม่ผลัดใบ มีพันธุ์ไม้ที่มีใบเขียวตลอดปี แบ่งออกเป็น
1.1.1 ป่าดงดิบชื้น
1.1.2 ป่าดงดิบแห้ง
1.1.3 ป่าดงดิบเขา
1.1.4 ป่าสน
1.1.5 ป่าเลนน้ำเค็ม
1.2 ป่าไม้ผลัดใบ คือ ป่าไม้ที่พันธุ์ไม้มีใบเขียวไม่ตลอดปี ในปีหนึ่ง ๆ ต้นไม้จะผลัดใบในฤดูร้อน พอเริ่มฤดูฝนก็จะผลิใบใหม่เจริญต่อไป ป่าไม้ผลัดใบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.2.1 ป่าเบญจพรรณ คือ ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์และชุ่มชื้น อาจมีไม้สักขึ้นปะปนกับไม้กระยาเลย อื่น ๆ
1.2.2 ป่าแดง คือ ป่าที่ไม่อุดมสมบูรณ์ แห้งแล้ง พันธุ์ไม้จึงเป็นพวกที่ทนความแห้งแล้งได้ดี ได้แก่ ไม้จำพวก เต็ง รัง เหียง พลวง
2. พืชไร่ คือ พืชที่ปลูกในพื้นที่มาก ๆ มีการปฏิบัติดูแลรักษาอย่างไม่ต้องพิถีพิถัน อายุการเก็บเกี่ยวไม่ยาวนาน ส่วนใหญ่เมื่อให้ผลผลิตแล้วก็จะตายไป เป็นพืชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก พืชพวกนี้ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง ยาสูบ ละหุ่ง ฝ้าย อ้อย ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น
3. พืชสวน คือ พืชที่ปลูกในพื้นที่ไม่มากหรือมาก ๆ ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติดูแลรักษาอย่างประณีต ส่วนมากอายุยืน สามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน ได้แก่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นต้น
|