ประเภทของดิน แบ่งตามลักษณะของเนื้อดินได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ดินเหนียว หมายถึง ดินที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาคดินเล็กกว่า 0.002 มม. เป็นพวกเนื้อดินละเอียดและมีการจับตัวกันอย่างหนาแน่น มีช่องว่างระหว่างเม็ดดินน้อย จึงสามารถอุ้มน้ำไว้ได้มาก แต่การระบายถ่ายเทอากาศไม่สะดวก
2. ดินร่วน หมายถึง ดินที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาค ตั้งแต่ 0.002 - 0.05 มม. ดินชนิดนี้จะมีช่องว่างระหว่างเม็ดดินมาก ทำให้น้ำซึมได้สะดวก แต่การอุ้มน้ำน้อยกว่าดินเหนียว
3. ดินทราย หมายถึง ดินที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางของอนุภาค ตั้งแต่ 0.05 - 2.0 มม. เนื้อดินมีลักษณะหยาบ เม็ดดินไม่เกาะตัวกัน ทำให้การระบายน้ำได้เร็วมาก จึงไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้
ภาพการเปรียบเทียบลักษณะของเนื้อดินเหนียว ดินร่วนและดินทราย
โครงสร้างดิน
โครงสร้างดิน คือ การที่อนุภาคดินมีการจัดเรียงตัวแล้วเชื่อมยึดติดกัน เกิดเป็นเม็ดดิน โครงสร้างที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช จะมีรูปร่างค่อนข้างกลม พบในดินชั้นบน และจะมีมากในดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ซึ่งจะมีผลต่อการเจริญเติบโต ไชชอนและแพร่กระจายของรากพืชได้ดี การระบายน้ำและถ่ายเทอากาศภายในดินสะดวก
|
pH มิเตอร์
|
ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช สามารถทราบได้โดยการวัดระดับ pH ของดิน ซึ่งค่า pH หรือค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน จะมีค่าตั้งแต่ 0 - 14 ถ้าระดับ pH = 7 จัดว่าเป็นกลาง แต่ถ้าระดับ pH สูงกว่า 7 จัดว่าเป็นด่างค่าต่ำกว่า 7 ลงไป จัดว่าเป็นกรด
การวัดระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดิน นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบันมี 2 วิธี
1. การวัดระดับ pH ของดินโดยการพิจารณาดูจากสีของน้ำยาที่ใช้ลงไปให้ทำปฏิกิริยากับดิน วิธีแบบนี้ทำได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ข้อเสียไม่ค่อยละเอียดและอาจเทียบสีผิดพลาดได้ง่าย
2. การวัดระดับ pH ของดินโดยใช้เครื่องมือในทางไฟฟ้า เรียกว่า pH มิเตอร์ ซึ่งสามารถวัดค่าระดับ pH ของดินได้อย่างละเอียดและแน่นอน แต่มีราคาแพงกว่าวิธีแรก
|