บทเรียนในการศึกษาภาษา HTML ต่อไปนี้ มีความประสงค์จะให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและทำความเข้าใจในการเขียนโค๊ดคำสั่งด้วยตนเอง จึงมีความจำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือพื้นฐานที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย เมื่อทำความเข้าใจและเขียนโค๊ดได้ถูกต้องแม่นยำค่อยหาเครื่องมือมาช่วยอำนวยความสะดวกอีกที
-
เครื่องมือเขียนคำสั่ง เราจะใช้ Notepad เป็นหลักเพราะมีเป็นมาตรฐานอยู่แล้วในวินโดว์ทุกเวอร์ชั่น ท่านที่ใช้ลินุกส์ก็ใช้ Text Editor ในเครื่องได้เช่นกันนะครับ มีพร้อมกันแล้วและฟรี
- เครื่องมือแสดงผล หรือบราวเซอร์นี่ก็มีพร้อมแล้วในวินโดว์ก็เป็น Internet Explorer หรือจะหันไปคบกับ Firefox เหมือนกับที่มีในลินุกส์ก็ย่อมได้ ฟรีอีกเหมือนกัน
โครงสร้างหลักของภาษา HTML (Hypert Text Markup Lanuage)
|
ในการเขียนภาษา HTML นั้น จะมีรูปแบบโครงสร้างการเขียนแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยจะแสดงในรูปแบบของสี ดังนี้
<html>
<head>
<title>
ข้อความนี้จะแสดงบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์
</title>
</head>
<body>
ส่วนเนื้อหาของเว็บเพจ ประกอบด้วย
- ข้อความ
- รูปภาพ
- สื่อมัลติมีเดีย
- - - - - - - - - - - - -
- - - - - - - - - - - - -
- - - - - - - - - - - - -
</body>
</html> |
(1) ส่วนประกาศ
(2)
ส่วนหัว
(2)
(3)
ส่วนเนื้อหา
(3)
(1)
|
- ส่วนประกาศ เป็นส่วนที่กำหนดให้บราวเซอร์ทราบว่า นี่คือภาษา HTML และจะต้องทำการแปรผลอย่างไรมีคำสั่งคู่เดียวคือ <html> และ </html> ปรากฏที่หัวและท้ายไฟล์
- ส่วนหัวเรื่อง (head) เป็นส่วนที่แสดงผลข้อความบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์ และอาจมีคำสั่งสำหรับกำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคอื่นๆ อีก แทรกอยู่ระหว่างคำสั่ง <head> และ </head>
- ส่วนเนื้อหา (body) เป็นส่วนที่มีความซับซ้อนมากที่สุด และสามารถใส่เทคนิคลูกเล่นเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ชมได้มาก ความแตกต่างระหว่างเว็บไซต์ต่างๆ แสดงความมีฝีมือของผู้จัดทำ ศิลปะในการออกแบบจะอยู่ในส่วนนี้ทั้งหมด ซึ่งจะแทรกอยู่ระหว่างคำสั่ง <body> และ </body>
HEAD : รายละเอียดคำสั่งในส่วนหัว
|
คำสั่งที่อยู่ในส่วนหัวนี้จะอยู่ระหว่างคำสั่ง <head> ... </head> เราสามารถมองเห็นผ่านบราวเซอร์ได้เฉพาะข้อความบนไตเติ้ลบาร์ คำสั่งอื่นๆ นั้นจะทำงานในส่วนเบื้องหลัง แต่ก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ควรละเลย ประกอบด้วยคำสั่งต่างๆ ดังนี้
- หัวเรื่องบนไตเติ้ลบาร์ เป็นส่วนสำคัญที่จะบอกรายละเอียดของหน้าเว็บเพจนั้นๆ อยู่ภายในคำสั่ง <title> ... </title> จะต้องกำหนดเสมอและควรใช้ภาษาอังกฤษนำ สามารถใช้ภาษาไทยเป็นคำตามได้ แต่ต้องไม่ยาวเกิน 64 ตัวอักษร เช่น Make a home with HTML : สร้างเว็บสวยด้วยภาษา HTML (การนับตัวอักษรในคำภาษาไทยต้องนับสระบน/ล่าง/วรรณยุกต์ด้วย)
ชื่อเรียกเว็บไซต์ที่ปรากฏบนไตเติ้ลบาร์ นอกจากจะนำมาใช้แสดงชื่อเรื่องของเว็บไซต์นั้นๆ แล้ว ยังเป็นข้อความที่จะถูกนำมาใช้เป็นคำสำคัญ (Keyword) ในการสืบค้นข้อมูลจาก Search Engine เสมอ
-
การระบุอักขระภาษา เป็นส่วนสำคัญและจำเป็นสำหรับเว็บเพจภาษาไทย ทำให้ผู้ชมสามารถอ่านข้อความบนเว็บเพจเป็นภาษาไทยได้ทันที โดยเฉพาะการสร้างเว็บจากเครื่องมือสำเร็จรูปหลายๆ โปรแกรมที่มักจะทำการกำหนดให้เว็บเป็นภาษาของผู้พัฒนาโปรแกรม (อาจเป็นภาษาในยุโรป/อเมริกา/หรือภาษาอื่นๆ) ทำให้ผู้ชมไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ ดังนั้นผู้สร้างเว็บจะต้องทำการกำหนดค่าการถอดรหัสภาษาไทยไว้เลยในทุกๆ ไฟล์โดยใช้คำสั่ง Meta ระบุไว้ที่ส่วน Head เช่นเดียวกันกับไตเติ้ล ดังนี้
<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=TIS-620"> หรือ
<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=Windows-874">
ให้เลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง เว็บเพจที่สร้างขึ้นก็จะสามารถแสดงผลภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
-
ประกาศให้โลกรู้ ถึงแม้ว่าระบบการค้นหาของ Search Engine จะนำชื่อเรื่องของเว็บไซต์ไปเป็นคำหลักโดยอัตโนมัติแล้วก็ยังไม่เพียงพอ เพราะด้วยข้อจำกัดของจำนวนตัวอักษรและคำที่ใส่ลงไป ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดคำหลักให้กับหน้าเว็บเพจนั้นๆ โดยใช้คำสั่งที่มีรูปแบบเฉพาะไว้ในส่วน Head ถัดจาก Title เรียกว่าการใช้คำสั่ง Meta (ซึ่งจะไม่แสดงผลในหน้าต่างบราวเซอร์) ดังนี้
<Meta name="X" content="Y"> (x และ y จะถูกแทนค่าด้วยข้อความ)
- ถ้า X แทนค่าด้วยคำว่า Keyword ในส่วน Y จะแทนค่าด้วยคำหลักที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์นั้น คำหลักควรเป็นภาษาอังกฤษ (ใช้ภาษาไทยได้) สามารถกำหนดได้มากกว่า 1 คำ แต่ละคำจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค (,) เช่น
<Meta name="keyword" content="html, web, page, website, home.">
- ถ้า X แทนค่าด้วยคำว่า Description ในส่วน Y จะแทนค่าด้วยคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์นั้น ควรเป็นภาษาอังกฤษ เขียนในรูปประโยคบอกเล่าสื่อความหมายถึงเนื้อหาในเว็บนั้นๆ เช่น
<Meta name="Description" content="HTML is a wonderful language for internet communication.">
- ถ้า X แทนค่าด้วยคำว่า Author ในส่วน Y จะแทนค่าด้วยชื่อของเจ้าของเว็บไซต์ หรือหน่วยงาน อาจระบุชื่ออีเมล์ไว้เพื่อให้สะดวกในการติดต่อกับผู้รับผิดชอบโดยตรง เช่น
<Meta name="Author" content="Sethabute - [email protected]">
- เทคนิคพิเศษ เราสามารถใส่เทคนิคพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนนี้ได้ เช่น สคริปต์พิเศษแสดงวันเวลา การแสดงผลพิเศษ (เราจะได้ศึกษาเพิ่มเติมในบทต่อๆ ไป)
นี่คือตัวอย่างของการแทรกคำสั่งต่างๆ ในส่วน head คุณสามารถเอาไปประยุกต์แก้ไขให้เหมาะสมกับเว็บเพจของได้เลย
<head>
<title> Make a home with HTML : สร้างเว็บสวยด้วยภาษา HTML</title>
<meta http-equiv="Content-Type" content="text/html; charset=TIS-620">
<meta name="keyword" content="html, web, page, website, home.">
<meta name="description" content="HTML is a wonderful language for internet
communication.">
<meta name="author" content="Wanchalong Sethabute - [email protected]">
<link href="htmlstyle.css" rel="stylesheet" type="text/css">
</head>
|
BODY : การนำเสนอในส่วนเนื้อหา
|
โดยปกติเมื่อไม่มีการกำหนดอะไรเป็นพิเศษในคำสั่ง body บราวเซอร์จะแสดงผลหน้าเว็บเพจเป็นพื้นหลังสีขาว ตัวอักษรสีดำเสมอ ในคำสั่ง body เราสามารถระบุค่าสีของพื้นหลัง ตัวอักษร และจุดเชื่อมโยงได้ตามต้องการ ดังนี้
<body bgcolor="#000099" text="#FFFFFF" link="#00FFFF" alink="#00FF00" vlink="#FF99FF">
bgcolor = การกำหนดสีพื้นหลัง |
link = การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยง (link) |
background = การกำหนดรูปภาพพื้นหลัง (ใช้ภาพสกุล .jpg, .gif) |
alink = การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยงขณะนำเมาท์ไปชี้ (active link) |
text = การกำหนดสีตัวอักษรในหน้าเว็บเพจทั้งหมด (ยกเว้นส่วนที่กำหนดพิเศษ) |
vlink = การกำหนดสีของจุดเชื่อมโยงเมื่อคลิกไปเยี่ยมชมมาแล้ว (visited link) |
การกำหนดค่าสีนั้นสามารถกำหนดโดยระบุชื่อสีโดยตรง เช่น black, white, blue, green,... เป็นต้น แต่การกำหนดแบบนี้จะไม่สามารถระบุความเข้มแบบไล่เฉดสีได้ จึงได้ใช้ค่าสีเป็นตัวเลขฐานสิบหก (hexadecimal format) โดยกำหนดเป็นค่าสีของแสง RGB แต่ละสีประกอบด้วยเลข 2 หลัก
ในแต่ละสีจะมีค่าของสีจากมืดไปสว่างดังนี้ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F เลข 2 หลักของแต่ละสีจึงมีค่าได้ตั้งแต่ 00 FF หรือแปลงค่าเป็นตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 255 ดังนั้นเมื่อเรากำหนดค่าสีเป็น 00FF00 (red=0, green=255, blue=0) ดังนั้นผลลัพธ์ที่ได้คือ สีเขียวสด
ไฟล์ตัวอย่าง
แสดงการกำหนดสีพื้นหลัง ตัวอักษร และการเชื่อมโยงในหน้าเว็บเพจ ในตัวอย่างนี้ได้เพิ่มเติมการใช้ภาพเป็นพื้นหลังด้วยคำสั่ง Background และระบุชื่อรูปภาพที่ใช้นั้นชื่อ bgimage.gif
<html>
<head>
<title>
Example of Body : ไฟล์ตัวอย่างคำสั่ง BODY
</title>
</head>
<body background="bgimage.gif" bgcolor="#ffffff" text="#000099" link="#ff0000" vlink="#990099" alink="#009900">
ข้อความที่แสดงในส่วนเนื้อหา
</body>
</html> |
END : สรุปคำสั่งที่ใช้ในบทนี้ |
TAGS |
รายละเอียด |
<html> ... </html> |
กำหนดชนิดของไฟล์ให้ html |
<head> ... </head> |
กำหนดส่วนหัวของไฟล์ เพื่อจัดเก็บรายละเอียดและชื่อไฟล์ |
<title> ... </title> |
การกำหนดชื่อไฟล์เพื่อแสดงผลบนไตเติ้ลบาร์ของบราวเซอร์ |
<meta> |
การกำหนดรายละเอียดของเว็บไซต์เกี่ยวกับการแสดงผลภาษาและคำอธิบายรายละเอียด คำค้นหาของเว็บไซต์ |
<body>...</body> |
คำสั่งกำหนดการแสดงผลในส่วนเนื้อหาของเว็บเพจ |
|
|